เชื่อว่ามีหลายท่านที่อาจจะไม่ได้สนใจเรื่องของยางรถยนต์มากนัก ส่วนใหญ่จะรู้เพียงว่าชนิดของยางที่เห็นนั้น ก็คงจะแบ่งได้เพียงแค่”ยางรถเก๋ง” กับ “ยางรถกระบะ” ซึ่งก็คงไม่ผิดนัก รายละเอียดปลีกย่อยของยางทั้งสองชนิดนั้นยังมีให้เห็นอีกเยอะ เป็นต้นว่ายางที่ใช้ในรถเก๋ง นั้นก็มีให้เลือกมากมาย ยางที่เน้นในเรื่องของการใช้ความเร็วสูง, ยางที่เน้นเรื่องของความนุ่มเงียบ, ยางที่มีประสิทธิภาพในการรีดน้ำสูง ฯลฯ
สำหรับยางที่ใช้กับรถกระบะ ซึ่งหมายรวมไปถึงระประเภท SUV, MPV, APV รถเอนกประสงค์ต่างๆ ก็ยังแยกลักษณะของยางได้หลายรูปแบบเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นยางที่ใช้สำหรับการพาณิชย์ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือยางบรรทุกนั่นเอง, ยางสำหรับรถขับเคลื่อนสี่ล้อ ก็ยังแตกแขนงได้อีก 2 ลักษณะก็คือ ยาง A/T หรือว่ายางออลเทอเรนแม้แก้มยางจะสูง แต่ดอกยางจะละเอียดหน่อย ใช้ได้ทั้งบนถนน และลูกรัง รวมไปถึงบ่อโคลนที่ไม่ลึกมากนัก ส่วนอีกลักษณะคือยาง M/T หรือยางมัดเทอเรน บางบั้งใหญ่ ที่ออกแบบมาให้ไช้ได้ดีในสถาพทางที่เป็นโคลน หรือทางขรุขระในป่า แต่ก็ไม่เหมาะนักกับการใช้งานบนถนนคอนกรีต หรือทางลาดยาง
อย่างไรก็ตามในส่วนของรถกระบะนี้ก็สามารถที่จะนำเอายางรถเก๋งมาใช้ได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคนที่ชอบแต่งในสไตล์โหลดเตี้ย ซึ่งปัจจุบันนี้ ในส่วนของล้อแม็กเองก็มีการพัฒนาในเรื่องของลายและขนาดให้ดูโดดเด่นสวยงามไปมาก รวมทั้งราคาของยางก็ถูกลงกว่าแต่ก่อนมาก “ขาซิ่ง” หลายคนก็เลยนิยมการเปลี่ยนล้อเปลี่ยนยางกันมากขึ้น
สิ่งหนึ่งที่น่าสร้างความแคลงใจให้กับหลายท่านพอสมควรเกี่ยวกับเรื่องของตัวเลข ที่บอกขนาดของยาง ตัวเลขที่บอกเป็นรหัสลับให้ต้องถอดกันนั้นอาจไม่เป็นสิ่งจำเปแนต่อเรานัก แต่ถ้าทราบเอาไว้ก็จะช่วยให้เรารู้จักและข้อบ่งใช้ของยางเรามากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างเช่น ที่แก้มยางเขียนเอาไว้ว่า 195/60 R15 87 V ซึ่งสัญลักณ์แบบนี้เรียกว่าเป็น European Metric โดยจะใช้กันทั่วโลก แสดงอัตราส่วนหน้าตัด (Aspect Ratio) ไว้ให้เห็นด้วย
195 = ความกว้างหน้าตัด หน่วยเป็นมิลลิเมตร
60 = Aspect Ratio หรือ ซีรี่ส์ เป็นความสูงของแก้มยาง ตัวเลข 60 ก็คือความสูง 60 เปอร์เซ็นต์ของความกว้างหน้าตัด นั่นก็หมายความว่าขนาดที่แท้จริงของความสูงแก้มยางก็คือ 117 มม. (60 เปอร์เซ็นต์ของ 195 มม.)
R = โครงสร้างเรเดียล
15 = เส้นผ่าศูนย์กลางกระทะล้อ หน่วยเป็นนิ้ว
87 = ขอบเขตการใช้งาน หรือดัชนีน้ำหนักบรรทุกสำหรับยางเส้นนั้นๆ
V = สัญลักษณ์ความเร็ว (Speed Symbol) เขาจะใช้ตัวอักษรแทนความเร็วสูงสุดของยางเส้นหนึ่ง ๆ โดยสอดคล้องกับความสามารถ ในการรับน้ำหนักของยางเส้นนั้น ๆ ด้วย สำหรับยางรถยนต์นั่งจะใช้อักษรระหว่าง J ถึง Z มาใช้
สัญลักษณ์ความเร็วสูงสุด ความเร็วสูงสุด (กม. / ชม.)
J = 100 K = 110 L = 120 M = 130 N = 140 O = 150
P = 160 Q = 170 R = 180 S = 190 T = 210 H = 240
V = 270 W = 300 VR >210 ZR >240
ตารางแสดง ดัชนีการรับน้ำหนัก/น้ำหนักบรรทุกต่อเส้น (กก.)
62 = 265, 63 = 272, 64 = 280, 65 = 290, 66 = 300, 67 = 307,
68 = 315, 69 = 325, 70 = 335, 71 = 345, 72 = 355, 73 = 365,
74 = 375, 75 = 387, 76 = 400, 77 = 412, 78 = 425, 79 = 437,
80 = 450, 81 = 462, 82 = 475, 83 = 487, 84 = 500, 85 = 515, 86 = 530, 87 = 545, 88 = 560, 89 = 580, 90 = 600, 91 = 615,
92 = 630, 93 = 650, 94 = 670, 95 = 690, 96 = 710, 97 = 730,
98 = 750, 99 = 775, 100 = 800, 101 = 825, 102 = 850, 103 = 875,
104 = 900, 105 = 925, 106 = 950, 107 = 975, 108 = 1000, 109 = 1030, 110 = 1060, 111 = 1090, 112 = 1120, 113 = 1150, 114 = 1180, 115 = 1215,
116 = 1250, 117 = 1285, 118 = 1320, 119 = 1360, 120 = 1400, 121 = 1450,
122 = 1500, 123 = 1550, 124 = 1600, 125 = 1650, 126 = 1700
ส่งท้ายกันด้วยเรื่องของโค้ดมาตรฐานกำหนดวันผลิต “DOT_ _ _”ตามด้วยสัปดาห์ที่ผลิตเลข 2 หลักและปีที่ผลิต เช่น”DOT015” แสดงว่ายางผลิตสัปดาห์ที่ 1 (เดือนมกราคม) ปี 2005 ส่วนยาง Bridgestone และ Firestone ดูรหัสแก้มยาง “L2S1C” ซึ่ง “L” (LหรือB) โรงงานที่ผลิต สระบุรีหรือปทุมธานี, “2” ปี ค.ศ.ที่ผลิต เช่น 2=2002,- “S” เดือนที่ผลิต (S=มค, E=กพ, R=มีค, Y=เมย, A=พค, L=มิย, N=กค, U=สค, M=กย, B=ตค, J=พย, K=ธค), “1” สัปดาห์ของเดือนที่ผลิต และ”C” หรือ B หรือ A เป็นลักษณะของสารเคมีที่ใช้ สำหรับยาง Michelin เช่น “DOT OC P8 CPX X 1203″ ดูเลขกลุ่มหลังครับ”1203” 12=สัปดาห์ของปี, 03=ปี 2003 และ ยาง Goodyear เช่น “D5L NYND 2J02 2904″ ดูเลขกลุ่มหลัง”2904” อ่านเหมือนยาง Michelin