เปิดโลก สานฝัน ผ่าน ‘สนามเด็กเล่นแห่งความรู้’
‘ห้องสมุดกรุงศรี ออโต้ แห่งที่ 14’ โอกาสที่เท่าเทียมทางการศึกษาเพื่อเด็กชาวดอย
‘สนามเด็กเล่นแห่งความรู้’ ‘ห้องสมุดกรุงศรี ออโต้ แห่งที่ 14’ ด้วยมนต์เสน่ห์ทางธรรมชาติที่รายล้อม ความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์และวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ จึงไม่น่าแปลกใจว่า ทำไม ‘เชียงใหม่’ ถึงได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารท่องเที่ยวชื่อดังอย่าง เทรเวล แอนด์ เลชเชอร์ (Travel + Leisure) ให้เป็นเมืองท่องเที่ยวที่ดีที่สุดลำดับ 3 ของโลก[1] แต่กระนั้น จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า ศูนย์กลางความสะดวกสบายที่ไม่แพ้เมืองหลวงของประเทศ ปลายทางในฝันของนักเดินทางหลายล้านคนแห่งนี้ จะยังมีเยาวชนอีกจำนวนหนึ่งที่ชีวิตความเป็นอยู่อาจจะไม่ได้สวยงามผันตามตัวเลขนักท่องเที่ยวที่เติบโตขึ้นมากนัก ดังเช่น เด็กนักเรียนที่โรงเรียนบ้านเวียงแหง โรงเรียนขนาดเล็กที่ซ่อนตัวอยู่บนภูเขาสูง ที่มีความขาดแคลนทางด้านการศึกษาและปัจจัยพื้นฐานอื่นๆอยู่มาก ส่งผลให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตเป็นไปอย่างยากลําบาก “กรุงศรี ออโต้” ผู้นำธุรกิจสินเชื่อยานยนต์ครบวงจร เครือธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างโอกาสและพัฒนาการศึกษาให้กับเยาวชนไทยในพื้นที่ห่างไกล จึงเดินหน้าสานต่อ โครงการห้องสมุด กรุงศรี ออโต้ ส่งมอบ “ห้องสมุดกรุงศรี ออโต้ แห่งที่ 14” ณ โรงเรียนบ้านเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ หนุนสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา และโอกาสในการเข้าถึงแหล่งความรู้ที่สำคัญ เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนในพื้นที่ได้เกิดการเรียนรู้และสามารถนำไปต่อยอดในการพัฒนาตนเองได้ อันจะเป็นบันไดสำคัญช่วยปูทางไปยังเป้าหมายชีวิตที่พวกเขาตั้งไว้ รวมถึงการมีคุณภาพชีวิตและอนาคตที่ดีขึ้น
คนชายขอบและไร้สัญชาติ กับความลำบากที่ยังวนเวียนไม่จากไปไหน
กว่า 3 ชั่วโมงจากตัวเมืองเชียงใหม่ บนเส้นทางที่คดเคี้ยว ลัดเลาะเลียบตามสันเขา ผ่านภูเขาสูง แนวป่าไม้ จนมาถึงโรงเรียนบ้านเวียงแหง “อำเภอเวียงแหงตั้งอยู่ห่างไกลจากตัวเมืองถึง 142 กม. มีชายแดนติดต่อกับประเทศพม่า มีหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์อพยพเข้ามาตั้งรกราก เช่น กะเหรี่ยง ม้ง เมี่ยน ลั๊วะ ถิ่น ไท ลื้อ ไทยใหญ่ จีนฮ่อ มูเซอ เป็นต้น
คนในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นคนไม่มีสัญชาติ ประกอบอาชีพทําไร่ รับจ้าง หาของป่า มีฐานะยากจนและความเป็นอยู่ที่ลำบาก ผู้ปกครองส่วนใหญ่จึงให้ความสําคัญกับการหาเลี้ยงปากท้องมากกว่าที่จะให้ลูกหลานได้เล่าเรียน ทำให้เด็กๆเหล่านี้ไม่ได้มีการพัฒนาตนเองเท่าที่ควร หรือจะเรียกว่ายังคงย่ำอยู่กับที่ก็ว่าได้ จะถามหาคุณภาพชีวิตหรืออนาคตที่ดีขึ้นก็ดูจะเป็นไปได้ยาก” ร้อยเอกเสกสันต์ ครองสมบัติ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ เล่าถึงข้อจำกัดทางภูมิภาค อุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่
บัณฑิตปริญญา ที่ตั้งใจกลับมาเป็นครูเพื่อพัฒนาบ้านเกิด ย้ำอย่างหนักแน่นถึงความสำคัญของการศึกษาหรือการเข้าถึงแหล่งความรู้ ที่จะทำให้คนในพื้นที่หลุดพ้นจากวงเวียนแห่งความลำบากแบบเดิมๆ ว่า “การศึกษาคือแสงสว่างของคนชายขอบและไร้สัญชาติที่นี่ เด็กหลายคนไปบวชเรียน หวังพึ่งร่มกาสาวพัสตร์เพื่อโอกาสทางการศึกษา ส่วนคนที่ต้องทำงาน ก็พยายามส่งเสียตัวเองให้ได้เรียนผ่านกศน. หรือการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย หากครอบครัวใดที่มีกำลังทรัพย์มากพอ ก็จะพยายามผลักดันให้ลูกหลานได้เข้าเรียนที่โรงเรียนในระบบ เด็กๆทุกคนที่ได้มีโอกาสเรียน จึงรู้ดีว่านี่คือ โอกาสวิเศษของชีวิต เพราะการศึกษ