ลุยไปกับโตโยต้าฟอร์จูนเนอร์ ใหม่ ทั้งทางเรียบ และออฟโรด
การทดสอบรถยนต์ของค่ายโตโยต้าที่ผ่านมา แม้จะมีค่อนข้างหลากหลาย แต่ส่วนใหญ่ก็จะลองสมรรถนะ และช่วงล่างกันในสนามปิดของค่าย ซึ่งก็ถือว่ามีความสะดวก ปลอดภัย และก็สามารถรับรู้สิ่งต่างๆ ที่รถยนต์จะสามารถตอบสนองกับสิ่งที่เราอยากรู้กันได้ พอสมควร แต่ก็ยังไม่สามารถบ่งบอกภึงการใช้งาน หรือรูปแบบของเส้นทางที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างครบถ้วย แต่สำหรับครั้งนี้ เรามีโอกาสได้ ลุยไปกับโตโยต้าฟอร์จูนเนอร์ ใหม่ ไม่ใช่ในสนามทดสอบ แต่เป็นเส้นทางทั้งทางเรียบ และออฟโรด เรียกว่าครบเครื่องทั้งเรื่องของการใช้งานในชีวิตประจำวัน และการใช้งานในโอกาสพิเศษตราบเท่าที่ความสามารถ สมรรถนะและเทคโนโลยีของรถจะพึงทำงานให้เราได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ออกแบบใหม่เพิ่มความความน่าใช้ยิ่งขึ้น
โตโยต้าฟอร์จูนเนอร์ใหม่ เรามีโอกาสได้แนะนำ และทำความรู้จักกันไปพอสมควรแล้ว ซึ่งก็คงไม่ต้องพูดอะไรกันมาก แต่ก็ขอหยิบเอาข้อมูลตัวรถที่น่าสนใจมาทบทวนให้ท่านท่านได้ทราบกันอีกเล็กน้อย โดยเฉพาะในรุ่นที่เรามีโอกาสได้ทดลองขับ และนำไปลุยกันนั้น ก็คือ โตโยต้าฟอร์จูนเนอร์รุ่นพิเศษ ที่ใช้ชื่อรุ่นว่า “Legender” ได้รับการออกแบบอย่างพิถีพิถันให้แตกต่างจากรุ่นมาตรฐานอย่างชัดเจน เพิ่มความโฉบเฉี่ยว ด้วยสัดส่วนกระจังหน้าที่แตกต่าง เพิ่มความทันสมัยด้วย ไฟหน้า DayTime Running Light แบบ Light Guiding ดีไซน์ใหม่ ที่มาพร้อมกับไฟเลี้ยว LED แบบ Sequential ไฟสูงและไฟต่ำแบบ LED ปรับเปลี่ยนลายล้ออัลลอย 20 นิ้วเป็นดีไซน์ใหม่ ที่มาพร้อมกับหลังคาทูโทน
ภายในมีทั้งหน้าจอสัมผัสที่รองรับ Apple CarPlay พร้อมระบบ T-Connect กล้องมองภาพรอบคันพร้อมมุมมองแบบ 3 มิติ สัญญาณเตือนกะระยะ ระบบ Activated Kick Door แท่นชาร์จไร้สาย และความทันสมัยอีกหลายอย่าง รวมทั้งเบาะหนังแบบทูโทน คู่หน้าสามารถปรับได้ด้วยไฟฟ้าถึง 8 ทิศทาง ฯลฯ
เครื่องยนต์ 2.8 ลิตร 204 แรงม้า 500 นิวตัน-เมตร
สำหรับการเดินทางไป ลุยกับโตโยต้าฟอร์จูนเนอร์ใหม่ ในครั้งนี้ถือเป็นสิ่งที่ท้าทาย ทั้งตัวรถและผู้ขับ เส้นทางที่ถือว่าหลากหลาย และไม่ธรรมดา โดยเฉพาะช่วงการเดินทางพิชิตเขาระเบิด ซึ่งตั้งอยู่ตั้งอยู่ ต.หนองใหญ่ อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี ซึ่งถือเป็นจุดชมวิว และชมทะเลหมอกสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ของชลบุรี แถมยังเป็นลานที่นักกีฬาพาราไกด์หรือกีฬาร่มร่อน มาฝึกฝนกันด้วย ในการเดินทางขึ้นเขาระบิดต้องใช้รถกำลังเครื่องยนต์สูง และเป็นรถขับเคลื่อนสี่ล้อเท่านั้น
สำหรับโตโยต้าฟอร์จูนเนอร์ ในรุ่น LEGENDER นั้นเป็นใช้เครื่องยนต์รหัส 1GD FTV ตัวแรงของค่าย เครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรล ขนาดความจุ 2.8 ลิตร แรงด้วยระบบอัดอากาศ VN เทอร์โบ เรียกมเออกมาปั่นได้ 204 แรงม้าที่ 3,400 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 500 นิวตัน-เมตรที่ 1,600-2,800 รอบ/นาที งานทำงานของเครื่องยนต์ถือว่าราบเรียบเป็นอย่างดี ส่วนหนึ่งก็น่าจะมาจากการที่เขาเพิ่มเพลาปรับสมดุล (Balance Shaft) เข้าไปในเครื่องยนต์ 2.8 ลิตร ซึ่งเป็นข้อดีในการที่จะช่วยลดแรงสั่นสะเทือนจากเครื่องเข้าสู่ห้องโดยสาร
เพิ่มประสิทธิภาพในโหมดของการขับขี่แบบ Off-Road
โตโยต้าฟอร์จูนเนอร์ REGENDER ที่เราขับไปลุยเส้นทางออฟโร้ดนั้น แน่นอว่าจะต้องเป็นรุ่นขับเคลื่อนสี่ล้อ ซึ่งในตัวใหม่นี้ก็มีการปรับเปลี่ยนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการลุยให้มากกว่าเดิม สิ่งแรกที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ เครื่องยนต์มีการปรับลดความเร็วรอบเดินเบา (จาก 850 รอบต่อนาที เป็น 680 รอบต่อนาที) สามารถลุยเส้นทาง Off-Road ได้อย่างมั่นคง ราบรื่น ไม่สะดุด แสดงข้อมูลตำแหน่งองศาของล้อบนหน้าจอ MID และติดตั้งสัญญาณเตือนกะระยะด้านท้าย และมุมกันชนหน้า-หลัง เพิ่มระบบบังคับเลี้ยวแบบ VFC (Variable Flow Control) ควบคุมพวงมาลัยแปรผันตามระดับความเร็วให้สามารถควบคุมรถได้อย่างมั่นใจ
สิ่งเหล่านี้ช่วยได้จริงเมื่อเราต้องลุย สภาพเส้นทางระหว่างการไต่ความชันขึ้นเขาระเบิดนั้นงานนี้ถูกเติมดีกรีความยากด้วยฝนที่โปรยปรายมาในช่วงค่ำคืนก่อนวันเดินทาง ซึ่งหลายช่วงมีน้ำขัง และโคลนลึก ระบบขับเคลื่อนใช้ครบไล่มาตั้งแต่ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อแบบ 4H จนมาถึงในจุดที่ต้องปรับมาใช้ระบบขับเคลื่อนสี่ล้ออัตราทดต่ำหรือ 4L จะสามารถเรียกพละกำลังและมีประสิทธิภาพในการถ่ายทอดกำลังไปยังล้อแต่ละล้อได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพกว่า ส่วนในบางช่วงที่เป็นทางลงเนินยาวที่ลาดชัน และเปียกลื่นไปด้วยโคลน ก็ต้องอาศัยระบบ HAC เข้ามาช่วยควบคุทความเร็ว
ใครที่มีกาสได้ลองขับรถขับเคลื่อนสี่ล้อของค่ายโตโยต้า คงพอทราบว่า แต่ก่อนโตโยต้าออกแบบการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการใช้เกียร์โฟร์ นั้นเป็นแบบแมน่วล ซึ่งใช้งานยากหน่อย แต่ประสิทธิภาพก็สูง แตสำหรับปัจจุบัน ทุกอย่างเปลี่ยนมาควบคุมด้วยระบบไฟฟ้าหมดแล้ว การเปลี่ยนระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ ใช้วิธีการบิดปุ่มเลือกการขับเคลื่อนบริเวณคอนโซลกลาง เหนือคันเกียร์
ในตัวแหน่ง 4H สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องหยุดรถ แต่ถ้าเป็นตำแหน่งเกียร์ 4L ต้องจอดรถพร้อมเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์หลักมาที่เกียร์ว่าง หรือตำแหน่ง N จึงจะสามารถใช้งานได้ ซึ่งบนจอมาตรวัดก็จะมีสถานะการทำงานของระบบขับเคลื่อยนขึ้นโชว์อยู่ โดยในตำแหน่งเกียร์4L นี้จะตัดการทำงานของระบบ TRC หรือระบบป้องกันล้อหมุนฟรีออกไปนอกจากนี้จะมีระบบออโต้ลิมิเต็ดสลิปเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการลุยอีกแรง จึงไปแปลกใจว่าเส้นทางโหดๆ สำหรับการเดินทางทริปนี้ แม้จะมีช่วงที่ยากลำบากแต่ก็สามารถไปสู่จุดหมายที่วางไว้ได้
ทางเรียบ อัตราเร่งดี ควบคุมมั่นคง
หลังจากที่กลับจากเขากะโหลก การเดินทางกลังเข้าสู่กรุงเทพฯ ระยะทางยังอีกยาวไกล เส้นทางที่มีครบรสตั้งแต่ถนนโล่ง เส้นทางไฮเวย์ ที่เปิดอากสให้เราได้ลองสมรรถนะในขอบเขตที่จำกัด เครื่องยนต์ 2.8ลิตรนั้นถือเป็นตัวแรงสุด เพราะฉะนั้นการเรียกกำลังออกมาใช้งานก็ถือว่าเรียกออกมาได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็ต้องเข้าใจว่าลักษณะของรถนั้น ไม่ใช้รถสปอร์ต และด้วยมีน้ำหนักตัวเยอะ โดยเฉพาะตัวขับสี่ที่ต้องแบบน้ำหนักมากกว่ารุ่นอื่น การออกตัว หรือช่วงที่ต้องเร่งแซงต้องใช้รอบเยอะหน่อย แม้จะเป็นแฟลททอร์ค แรงบิด 500 นิวตัน-เมตร ก็ต้องทำงานหนัก
แต่เมื่อเราลองเปลี่ยนมาใช้เกียร์ Sport Mode ก็จะช่วยให้การขับขี่ของมีความสนุกสนานมากยิ่งขึ้น ด้วยการปรับการทำงานของคันเร่งให้ตอบสนองเร็วยิ่งขึ้น และปรับการทำงานของพวงมาลัยให้มีน้ำหนักมากขึ้น เหมาะสำหรับการเร่งแซงและการขับขี่ที่ใช้ความเร็วสูง
สิ่งหนึ่งที่ฟอร์จูนเนอร์ใหม่ แสดงให้เห็นก็คือการใช้งานในสภาวะรถติด ช่วงการเดินทางกลับจากต่างจังหวัดในวันศุกร์ ตอนเย็นแถมที่ฝนกระหน่ำหนัก ไม่ต้องบรรยายก็พอจะรู้ซึ้งถึงสภาพการจราจรเมืองไทยว่าเลวร้ายขนาดไหน แต่งานนี้ไม่ป็นอุปสรรคให้เราต้องเมื่อยล้ากับการเดินทางนัก รถตัวถังขนาดใหญ่ กว้าง 1,855 มม. และยาว 4,795 มม. นั้นถือว่าไม่ธรรมดา ทว่ายังสามารถขับและเปลี่ยนเลนได้อย่างคล่องตัว การบังคับควบคุม หรือว่าแฮนด์ลิ่งที่ดีมีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง การทรงตัวดี การยึดเกาะถนนก็ทำได้อย่างน่าประทับใจ ต้องยอมรับว่าโตโยต้าเซ็ตระบบช่วงล่างในรุ่นนี้มาค่อนข้างดี
เสี่ยงที่เล็ดรอดเข้ามามีบ้าง แต่ก็ไม่เยอะนัก เป็นธรรมดาของรถประเภท PPV ที่มีการต้านลมสูง เสียงครางของเครื่องยนต์ เข้ามาบ้างในช่วงเร่งแซงแต่พอรับได้
ระบบความปลอดภัย ต้องเข้าใจการทำงาน
ส่วนเรื่องระบบความปลอดภัยที่ช่วยเพิ่มความมั่นใจในขณะขับขี่ก็มีมาให้ครบครันตามที่เราเคยได้บอกกันไปในช่วงแนะนำรถใหม่อยู่แล้ว ไม่ต้องพูดกันมากนัก แต่หลายคนอาจจะบ่นว่าระบบเตือนเมื่อออกนอกเลน (Lane Departure Alert) ทำงานไม่ค่อยสมูทนัก การดึงพวงมาลัยให้รถกลับเข้ามาในเลน นั้นน่าตกใจไปหน่อย ขืนกับการใช้งานจริงบนท้องถนน ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่ใช้จังหวะในการแซงแล้วต้องออกนอกเลนเล็กน้อย รวมไปถึงขณะที่เข้าโค้ง แล้วชิดขอบถนนด้านใน สไตล์รถแข่ง
ซึ่งนั่นเราถือว่ามีความเป็นจริงบางส่วน ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจวัตถุประสงค์ในการออกแบบระบบความปลอดภัยว่า นำมาใช้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด ระบบเตือน และดึงพวงมาลัยกลับเมื่อรถออกนอกเลน เป็นรถบบที่ช่วยให้ผู้ขับที่อาจจะเผลอหรือหลับใน ให้มีความตื่นตัวเมื่อรถอาจจะออนอกเส้นทางการทำงานที่ราบเรียบหรือค่อยๆ แต่งพวงมาลัยให้กลับมาในทางอาจไม่ใช่สิ่งที่ผู้ออกแบบคิด
อย่างไรก็ตามระบบนี้สามารถปิดงานทำงานได้เมื่อเราไม่ต้องการ โดยเฉพาะการใช้งานในเมือง หรือเมื่อเราต้องเปลี่ยนเลนบ่อยๆ การจราจรหนาแน่นระบบนี้คงไม่จำเป็น แต่ถ้าเป็นการขับบนไฮเวย์ทางตรงๆ ยาวๆ ก็ถือว่าจำเป็น การทำงานของระบบจะช่วยปลุกให้เราตื่น ก่อนที่จะมีเหตุการณ์ที่ไม่ดีเกิดขึ้นได้