โครงการ โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ จ.สงขลา

โครงการ โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ ขยายผลสร้างธุรกิจมืออาชีพ

รับรองผลการไคเซ็นธุรกิจด้วยตนเอง ณ บริษัท 42 เนเจอรัลรับเบอร์ จำกัด

. จะนะ จ. สงขลา

นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตแบบโตโยต้า เข้าติดตามผลการไคเซ็นธุรกิจด้วยตนเอง ณ บริษัท 42 เนเจอรัลรับเบอร์ จำกัด ซึ่งเป็น 1 ใน 12 ธุรกิจชุมชนในโครงการฯ ปี 2561 เพื่อตรวจประเมินความพร้อมในการยกระดับเป็น “ศูนย์การเรียนรู้ โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์” แห่งที่ 5 ศูนย์กลางการถ่ายทอดประสบการณ์การไคเซ็นธุรกิจประจำจังหวัดสงขลา ในวันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม 2562 ณ บริษัท 42 เนเจอรัลรับเบอร์ จำกัด อ. จะนะ จ. สงขลา

บริษัท 42 เนเจอรัลรับเบอร์ จำกัด อ. จะนะ จ. สงขลา เป็นผู้ประกอบการผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากยางพารา บริหารงานโดย คุณคุณัญญา แก้วหนู ด้วยแนวทางมุ่งเน้นการนำน้ำยางพารามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าแก่น้ำยางพาราของไทย เช่น หมอนยางพารา ถุงมือเคลือบยางสำหรับใช้ในงานอุตสาหกรรม ฯลฯ ตลอดจนเป็นการสร้างอาชีพให้แก่ชาวบ้านในท้องถิ่น โดยบริษัทฯ ได้เข้าร่วมกิจกรรมการไคเซ็นธุรกิจภายใต้ โครงการ  โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ ในปี พ.ศ. 2561 และได้นำองค์ความรู้ในการดำเนินธุรกิจของโตโยต้าเข้าปรับปรุงการดำเนินงาน ในส่วนของธุรกิจการผลิตหมอนยางพารา ดังนี้

  1. เพิ่มความสามารถในการผลิต โดยการปรับลดเวลาการผลิตต่อรอบ (Cycle time) :

ปรับปรุงมาตรฐานในกระบวนการตากหมอน อันเป็นกระบวนการที่ใช้เวลานานที่สุด โดยเปลี่ยนวิธีการทำงานจากเดิมที่ปล่อยให้ผลิตภัณฑ์แห้งเองตามธรรมชาติ เป็นการออกแบบห้องตาก ชั้นวางหมอน และรูปแบบการจัดวาง พร้อมติดตั้งระบบถ่ายเทอากาศเพื่อให้อากาศหมุนเวียนได้ดี ช่วยลดเวลาการตากหมอนลง จาก 21 วันต่อรอบ เหลือเพียง 7 วันต่อรอบ ส่งผลให้ความสามารถในการผลิตเพิ่มจาก 700 ใบต่อเดือน เป็นกว่า 1,300 ใบต่อเดือน เพิ่มรายได้ต่อเดือนจาก 400,000 บาทเป็นกว่า 750,000 บาท นอกจากนี้จากการที่เวลาผลิตต่อรอบทำได้เร็วขึ้น 3 เท่า ยังส่งผลให้ต้นทุนในกระบวนการ (Work in process) ลดลงจาก 420,000 บาท เหลือ 140,000 บาท รวมถึงมีการแนะนำให้ธุรกิจใช้ “ระบบการมองเห็น” (Visualization) ควบคุมการผลิต เพื่อให้สามารถติดตามสถานะการผลิตและการส่งมอบได้อย่างแม่นยำ

 

  1. การบริหารต้นทุนวัตถุดิบและการลดของเสียในกระบวนการ :
    • สร้างมาตรฐานการใช้วัตถุดิบ : ก่อนการปรับปรุง ธุรกิจตรวจพบน้ำยางล้นออกนอกแม่พิมพ์ จึงปรับมาตรฐานการผลิตโดยกำหนดให้มีการฉีดน้ำยางลงแม่พิมพ์ครั้งละ5 กิโลกรัม ช่วยลดปริมาณการสูญเสียวัตถุดิบลงประมาณ 1 กก. ต่อหมอนการผลิต 4 ใบ คิดเป็นการลดต้นทุนจากการสูญเสียลง 10 บาทต่อการผลิตหมอน 1 ใบ (รวม 12,000 บาทต่อเดือน) โดยไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์
  • ปรับปรุงปัญหาคุณภาพสินค้า โดยก่อนการปรับปรุงธุรกิจตรวจพบปัญหามีหมอนที่ผ่านการอบแล้วมีขนาดไม่เต็มใบถึง 12% เนื่องจากเกิดช่องว่างในเนื้อหมอนภายหลังกระบวนการฉีดน้ำยางเข้าแม่พิมพ์ โตโยต้าจึงทำการไคเซ็นโดยการปรับการเคลื่อนไหวของพนักงาน ลดการก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของฝาแม่พิมพ์หลังฉีดน้ำยาง ส่งผลให้ภา