โตโยต้า “โคโรลล่า อัลติส”
|
รถยนต์นั่งยอดนิยมของคนไทย “โคโรลล่า อัลติส” ผ่านการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยระดับ 5 ดาว จากการทดสอบการชนรถใหม่ในอาเซียน หรืออาเซียน เอ็นแคป (ASEAN NCAP)* ตามหลักเกณฑ์การประเมินผลแบบใหม่สำหรับปี พ.ศ. 2560 – 2563 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2562 |
จากแนวคิดความท้าทายในการผลิตยนตรกรรมที่ดียิ่งกว่าของโตโยต้า (Ever-Better Cars) “โคโรลล่า อัลติส” รถยนต์นั่งยอดนิยมของคนไทย ที่พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นยนตรกรรมที่ก้าวข้ามขีดสุด ที่เหนือกว่า ด้วยสถาปัตยกรรมยานยนต์ใหม่ของโตโยต้า (Toyota New Global Architecture หรือ TNGA) อันเป็นโครงสร้างหลักที่ทำให้ตัวถังรถมีความแข็งแกร่ง ทนทานต่อแรงบิดได้เป็นอย่างดี ตลอดจนตัวรถได้รับการออกแบบให้มีจุดศูนย์ถ่วงต่ำ ทำให้มีการทรงตัวที่ยอดเยี่ยม สามารถควบคุมรถได้ดั่งใจ พร้อมมั่นใจในทุกสถานการณ์ การขับขี่ ด้วยระบบความปลอดภัยมาตรฐานระดับโลกของรถโตโยต้ารุ่นล่าสุด (Toyota Safety Sense) ส่งผลให้ “โคโรลล่า อัลติส” เป็นรถยนต์นั่งรุ่นที่ 3 ของโตโยต้า ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยระดับ 5 ดาว จากการทดสอบการชนรถใหม่ในอาเซียน หรืออาเซียน เอ็นแคป (ASEAN NCAP*) ภายใต้การประเมินผลแบบใหม่สำหรับปี พ.ศ.2560 – 2563 ซึ่งถือได้ว่าเป็นโปรแกรมการทดสอบการชนรถใหม่มาตรฐานระดับโลก ที่ทำการทดสอบในทุกๆ ด้าน ทั้งในรูปแบบระบบความปลอดภัยแบบปกป้อง (Passive Safety) ระบบแจ้งเตือนให้คาดเข็มขัดนิรภัย (Seatbelt Reminders) ระบบการช่วยเบรกและการหลบหลีกอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Braking and Avoidance) ระบบช่วยเตือนมุมอับสายตา รวมไปถึงระบบความปลอดภัยขั้นสูง (Advanced Safety Assist Technologies) |
*ASEAN New Car Assessment Program (ASEAN NCAP) เกิดจากความร่วมมือของหน่วยงานศึกษาด้านความปลอดภัยบนท้องถนนของมาเลเซีย หรือ Malaysian Institute of Road Safety Research (MIROS) กับโปรแกรมทดสอบการชนรถใหม่ของโลกหรือ Global New Car Assessment Program (Global NCAP) ให้เป็นหน่วยงานอิสระเพื่อทำหน้าที่ทดสอบมาตรฐานความปลอดภัยของรถยนต์รุ่นใหม่ที่จำหน่ายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
สำหรับหลักเกณฑ์การประเมินผลแบบใหม่สำหรับปี พ.ศ. 2560 – 2563 ของอาเซียน เอ็นแคป (ASEAN NCAP) นั้นประกอบด้วย การทดสอบการปกป้องผู้โดยสารที่เป็นผู้ใหญ่ (Adult Occupant Protection – AOP) การทดสอบการปกป้องผู้โดยสารที่เป็นเด็ก (Child Occupant Protection – COP) และระบบช่วยเหลือ ด้านความปลอดภัย (Safety Assist) ซึ่งในการประเมินจะทำการทดสอบการชนด้านหน้าแบบเยื้องศูนย์ (Frontal Offset Impact Test) การทดสอบการชนด้านข้าง (Side Impact Test) และการทดสอบการติดตั้งระบบยึดเหนี่ยวเด็กภายในรถ (Child Restraint System – CRS) อีกทั้งยังมีการประเมินองค์ประกอบด้านความปลอดภัยอื่นๆ ของรถอีกด้วย |
ระบบความปลอดภัยแบบปกป้อง (Passive Safety) – ถุงลมเสริมความปลอดภัย 7 ตำแหน่ง – เข็มขัดนิรภัยคู่หน้าพร้อมระบบกลไกดึงกลับและผ่อนแรงดึงอัตโนมัติ สำหรับคนขับและผู้โดยสาร (Retractor Pre-tensioner & Load Limiter for Driver and Passenger) |
ระบบการช่วยเบรกและการหลบหลีกอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Braking and Avoidance) – ระบบป้องกันล้อล็อก (Anti-lock Braking System – ABS) – ระบบควบคุมการทรงตัว (Electronic Stability Control – ESC) |
ระบบแจ้งเตือนให้คาดเข็มขัดนิรภัย (Seatbelt Reminders) – ระบบแจ้งเตือนให้คาดเข็มขัดนิรภัยสำหรับคนขับและผู้โดยสารด้านหน้า (Seatbelt Reminder for Driver and Front passenger) |
ระบบช่วยเตือนมุมอับสายตา (Blind Spot Technology) – ระบบช่วยเตือนมุมอับสายตาที่กระจกมองข้าง (Blind Spot Monitor – BSM) |
ระบบความปลอดภัยขั้นสูง (Advanced Safety Assist Technologies) – ระบบเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติ (Autonomous Emergency Braking – AEB) – ระบบเตือนเมื่อออกนอกเลน (Lane Departure Warning System or Lane Departure Alert) – ระบบความปลอดภัยก่อนการชน (Forward Collision Warning System or Pre-Collision System) – ระบบควบคุมรถให้อยู่ในช่องทางเดินรถ (Lane Keep Assist or Lane Tracing Assist) |
นายสุรศักดิ์ สุทองวัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กล่าวว่า “นับเป็นความภาคภูม |