นิสสัน รี-ลีฟ รถยนต์ไฟฟ้าต้นแบบที่เป็นแหล่งพลังงานเคลื่อนที่เมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ

นิสสัน รี-ลีฟ พร้อมส่งมอบพลังงานทุกที่ ทุกเวลา

รถยนต์ไฟฟ้าต้นแบบที่เป็นแหล่งพลังงานเคลื่อนที่เมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ

ปารีส – นิสสันเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า 100% สำหรับงานช่วยเหลือฉุกเฉิน ที่ถูกออกแบบขึ้นเพื่อเป็นแหล่งพลังงานเคลื่อนที่ยามเมื่อเกิดภัยพิบัติ หรือสภาพอากาศร้ายแรง

นิสสัน รี[1]-ลีฟ (RE-LEAF) รถยนต์ต้นแบบที่ใช้งานได้จริงถูกพัฒนามาจากรถยนต์นิสสัน ลีฟ รถยนต์ไฟฟ้าที่จำหน่ายสำหรับตลาดมวลชนรุ่นแรกของโลก

นิสสัน รี-ลีฟ เพิ่มสมรรถนะให้สามารถลุยไปได้ทุกอุปสรรคเช่นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยซากปรักหักพัง ด้านนอกของรถติดตั้งชุดเชื่อมต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าขนาด 110 – 230 โวลต์ จากแบตเตอรี่ลิเธียม ไอออน ประสิทธิภาพสูงของนิสสัน ลีฟ

รี-ลีฟ สามารถขับไปยังพื้นที่ศูนย์กลางของภัยพิบัติ และใช้เป็นแหล่งพลังงานเคลื่อนที่สำหรับการกู้ภัย ด้วยการจัดการพลังงานแบบบูรณาการ ทำให้สามารถให้พลังงานไฟฟ้ากับอุปกรณ์ทางการแพทย์ ระบบสื่อสาร ไฟส่องสว่าง ระบบทำความร้อน และเครื่องมือช่วยชีวิตอื่น ๆ

“เราเห็นโอกาสที่รถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นประโยชน์ต่อชีวิตผู้คนนอกเหนือการเดินทางแบบไร้มลพิษ” เฮเลน เพอร์รี่ หัวหน้าฝ่ายรถยนต์ไฟฟ้าแบบโดยสารและโครงสร้างพื้นฐานสำหรับนิสสันในยุโรป (Helen Perry, head of electric passenger cars and infrastructure for Nissan in Europe) กล่าว

รถยนต์ต้นแบบ รี-ลีฟ แสดงถึงความเป็นไปได้ในการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในการจัดการภัยพิบัติด้วยเทคโนโลยีที่สะอาด และอัจฉริยะเพื่อการช่วยเหลือ และฟื้นคืนชีวิตสู่สภาวะปกติ”

การนำรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้จริงเมื่อเกิดภัยพิบัติ

ภัยพิบัติทางธรรมชาติคือสาเหตุหลักของไฟฟ้าดับ จากรายงานในปี 2019 ธนาคารโลกระบุว่าภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเป็นสาเหตุของไฟฟ้าดับถึง 37% ในยุโรประหว่างปี 2000 ถึงปี 2017 และ 44% ในสหรัฐอเมริกาของช่วงเวลาเดียวกัน

เมื่อมีภัยพิบัติเกิดขึ้น ไฟฟ้าจะกลับมาใช้งานได้ภายใน 24 – 48 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความระดับความเสียหาย ในระหว่างนี้เราสามารถใช้รถยนต์ไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงานแบบไร้มลพิษได้

นิสสันพัฒนา “รี-ลีฟ” ขึ้นมาเพื่อแสดงศักยภาพของรถยนต์ไฟฟ้าในการให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติ แม้ว่ามันจะเป็นแค่รถยนต์ต้นแบบ แต่เทคโนโลยีนี้ก็ได้ถูกนำมาใช้จริงแล้ว เช่นในประเทศญี่ปุ่นที่นิสสันได้นำรถยนต์ ลีฟ มาใช้เป็นแหล่งพลังงานและพาหนะเมื่อเกิดภัยพิบัติตั้งแต่ปี 2011 อีกทั้งยังได้ร่วมมือกับองค์กรท้องถิ่นกว่า 60 แห่งในการให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติ

รถยนต์ไฟฟ้าของนิสสันยังสามารถเป็นแหล่งพลังงานเคลื่อนที่สำหรับบ้านเรือนและชุมชนแม้ในเหตุการณ์ปกติ ผ่านโครงข่าย นิสสัน เอเนอจี้ แชร์ ที่สร้างโมเดลการแจกจ่ายพลังงานเพื่อรักษาเสถียรภาพของ    อุปสงค์และอุปทานของการใช้พลังงาน

รี-ลีฟ ใช้ความสามารถในการชาร์จแบบสองทางของลีฟซึ่งเป็นคุณสมัติมาตรฐานที่มากับตัวรถตั้งแต่เปิดตัวเมื่อปี 2010 โดยไม่เพียงแต่ ลีฟ จะสามารถ “ดึง” พลังงานออกมาชาร์จแบตเตอรี่ประสิทธิภาพสูง แต่ยังสามารถ “ป้อนพลังงาน” กลับไปยังระบบโครงข่าย หรือ grid ผ่านเทคโนโลยี V2G (Vehicle-to-Grid) หรือส่งไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยตรงผ่านระบบ V2X (Vehicle-to-everything)

รถยนต์ไฟฟ้าเพื่อการฟื้นสภาพที่มีประสิทธิภาพ

นิสสัน ลีฟ อีพลัส (LEAF e+) สามารถเป็นสถานีพลังงานไฟฟ้าเคลื่อนที่ โดยเมื่อชาร์จเต็มสู่  แบตเตอรี่ ขนาดความจุไฟฟ้า 62 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง (kWh) จะสามารถให้พลังงานแก่บ้านหนึ่งหลังในทวีปยุโรปได้ถึงหกวัน

และเมื่อไฟฟ้ากลับมาใช้งานได้ตามปกติ เราก็สามารถชาร์จไฟกลับสู่ตัวรถใช้สำหรับการเดินทางแบบไร้มลพิษ ซึ่งนิสสัน ลีฟ อีพลัส สามารถวิ่งได้ถึง 385 กิโลเมตร[2] ต่อการชาร์จเพียงหนึ่งครั้ง

“รถยนต์ไฟฟ้ากำลังกลายเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยให้การฟื้นตัวหลังเกิดภัยพิบัติมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น” เพอร์รี่กล่าว “การเตรียมรถยนต์ไฟฟ้าไว้หลายพันคัน ไม่ว่าจะเพื่อช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติ หรือเชื่อมต่อกับโครงข่ายยานพาหนะไฟฟ้าสู่ระบบโครงข่าย หรือ V2G จะสร้างโรงไฟฟ้าแบบเสมือนจริงเพื่อรักษาอุปทานของพลังงานไฟฟ้าได้”

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ การบริการ และความมุ่งมั่นในการนำเสนอยานยนต์เพื่อความยั่งยืน สามารถติดตามได้ที่ nissan-global.com, Facebook, Instagram, Twitter, LinkedIn และรับชมวีดีโอล่าสุดที่ YouTube

[1] รี ย่อมาจาก RE ซึ่งเป็นสามหลักในการรับมือกับภัยพิบัติ response ตอบสนอง recovery ฟื้นฟู resilience ฟื้นตัว

[2] ตามมาตรฐาน WLPT (Worldwide Harmonized Light Vehicles Test Procedure) ขั้นตอนการทดสอบยานพาหนะเบาที่ใช้กันทั่วโลก