ปัจจุบันคนใช้รถใหม่ป้ายแดงมากยิ่งขึ้นเนื่องจากว่า รถยนต์มีราคาลดลง ผู้ชื้อสามารถออกรถได้ง่ายขึ้น และมีรุ่นใหม่ๆ ตอบสนองความต้องการ และเงินในกระเป๋ามากยิ่งขึ้นนั่นเอง มีหลายคนพูดถึงการใช้รถป้ายแดง ก็เพื่อตัดปัญหาการดูแลรักษากันแบบยาวๆ หลายปี ความคิดนี้ไม่ถูกซะทั้งหมดครับ เพราะถึงอย่างไร การใช้งานไม่ว่าจะเป็นรถใหม่หรือมือสอง ถ้าไมดูแลรักษาให้ครอบคลุม หรือว่าถี่ถ้วนแล้ว งานอาจจะเข้าได้แบบรู้ตัวก็สายเกินแก้ก็เป็นได้
ตัวอย่างเช่นเรื่องของเครื่องยนต์โอเวอร์ฮีท หลายคนบอกอาการนี้เป็นเฉพาะรถเก่าๆ ที่ระบะทางเดินของน้ำหล่อเย็นไม่ดี หรือหม้อน้ำรั่ว เครื่องหลวมน้ำมันเครื่องพร่อง หรือจะสาเหตุใดก็ตาม แต่ที่แน่ๆ ไม่ได้เป็นเฉพาะรถมือสองแน่ รถรุ่นใหม่หลายยี่ห้อกินน้ำมันเครื่องแม้จะใช้แบบซูเปอร์ซินเทติค ที่มีอายุการใช้งานยาวนานเกินหมื่นกิโลก็ตาม แต่ถ้าเราละเลยน้ำมันเครื่องที่ใสกว่าปรกตินั้นมีสิทธิ์รั่วซึ่มออกได้ตามแหวนลูกสูบ ส่วนหม้อน้ำถ้าเครื่องยนต์ถูกใช้งานหนักความร้อยเยอะก็มีสิทธิ์ระเหยเป็นไอหายไปได้เหมือนกัน กระทั่งมารู้ตัวอีกทีมันก็สายเกินแก้
เขาก็เลยที่หลักเกณฑ์ให้ดูแลก่อนที่จะเกิดอาการ “ไข้ขึ้น” ในรถยนต์ ก็คือก่อนขับรถ เราควรหมั่นตรวจสอบระดับน้ำในหม้อน้ำ หากเป็นรถใหม่ควรตรวจสอบอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ส่วนรถที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี ควรตรวจสอบ 2 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์ หมั่นเติมน้ำสะอาด และถ่ายน้ำในหม้อน้ำทิ้งทุก 4 – 6 เดือน เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกหรือตะกอนตกค้าง ทำให้หม้อน้ำอุดตัน
แค่น้ำหล่อเย็นอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต้องทำการตรวจสอบระบบต่างๆ ภายในเครื่องยนต์ โดยเฉพาะรถที่ผ่านสมรภูมิมาหนักไม่ว่าจะเป็น สายพานเครื่องยนต์ไม่หย่อนหรือตึงเกินไป พัดลมระบายความร้อนอยู่ในสภาพที่ ใช้งานได้ดี ไม่แตกหักหรือบิดงอ หากตรวจพบรอยรั่วตามจุดต่างๆ ภายในเครื่องยนต์ เช่น ท่อยางหม้อน้ำ ครีบรังผึ้งระบายความร้อน ปั้มน้ำ เป็นต้น ควรให้ช่างที่มีความชำนาญการดำเนินการซ่อมแซมทันที
ตรวจกันถี่ถ้วนแล้ว แต่ก็อาจมีหลงลืมกันบ้าง ขณะขับขี่ เราก็สามารถสังเกตอาการเครื่องยนต์ร้อนจัดได้จากเข็มวัดอุณหภูมิที่หน้าปัด โดยปกติเข็มวัดอุณหภูมิจะอยู่ระหว่างตัว C และ H หรือ 85 – 90 องศาเซลเซียส หากเข็มวัดอุณหภูมิเคลื่อนมาอยู่ใกล้ตัว H แสดงว่าเครื่องยนต์ร้อนจัด ให้รีบปิดแอร์เพื่อลดการทำงานของเครื่องยนต์และนำรถจอดเข้าข้างทางในบริเวณที่ปลอดภัยในทันที และรีบเปิดฝากระโปรงรถเพื่อระบายความร้อนออกจากห้องเครื่อง
แต่หากมีไอน้ำพุ่งขึ้นมาจากฝากระโปรงรถ ควรรอจนความร้อนของเครื่องยนต์ลดลง แล้วจึงค่อยเปิดฝากระโปรงรถ ไม่เปิดฝาหม้อน้ำในขณะที่เครื่องยนต์ร้อนจัด เพราะไอน้ำอาจพุ่งขึ้นมาจนทำให้บาดเจ็บได้ และห้ามราดน้ำที่เครื่องยนต์ เพราะจะทำให้เครื่องยนต์เสียหาย ในขณะเปิดฝาหม้อน้ำควรนำผ้าหนาๆ มาคลุมหรือวางบนฝาหม้อน้ำ กรณีที่น้ำในหม้อน้ำเหลือน้อยหรือหมด ควรรอจนเครื่องยนต์เย็นลง แล้วจึงค่อยเติมน้ำเปล่าหรือน้ำยาหล่อเย็นอย่างช้าๆจนเต็ม และปิดฝาหม้อน้ำให้สนิท
จากนั้นให้ลองสตาร์ทเครื่องยนต์ให้เดินเบา เพื่อตรวจสอบความผิดปกติของเครื่องยนต์ หากพบรอยรั่วซึมควรแจ้งช่างผู้ชำนาญการดำเนินการซ่อมแซมทันที เพื่อป้องกันเครื่องยนต์ร้อนจัด
อีกสาเหตุหนึ่งก็คือเรื่องของน้ำมันเครื่องขาด แน่นอนครับน้ำมันเครื่องนอกจากจะเป็นสิ่งที่ช่วยหล่อลื่นให้รถแล้ว ยังเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยระบายความร้อน เพราะฉะนั้นถ้ามันไม่อยู่ในระดับที่เพลาข้อเหวี่ยงจะวิดขึ้นมาสาดได้ก็จะทำให้เกิดการเสียดสีและมีความร้อนขึ้นสูง เมื่อรถเกิดการ “ฮีท” ขึ้นมาแล้ว และตรวจพบว่าน้ำมันเครื่องขาด แล้วถ้าเราเติดเพิ่มเข้าไป เครื่องยนต์ยังไม่หายตัวร้อน ก็อย่าแปลกใจ นั่นเป็นเพราะว่า เมื่อเกิดความร้อนจัดนำมันเครื่องที่อยู่ในแคร้งค์อาจจะเสียคุณสมบัติในการระบายความร้อนและการหล่อลื่นไปแล้ว ทางที่ดีควรจัดการถ่ายน้ำมันเครื่องเก่าทิ้ง แล้วเติมของใหม่เข้าไปเชื่อว่าอาการ “โอเวอร์ฮีท” ของรถคุณจะบรรเทาลงอย่างเห็นได้ชัด