โตโยต้าแถลงยอดขายรถยนต์ปี 2562

โตโยต้าแถลงยอดขายรถยนต์ปี 2562

คาดการณ์ตลาดรวมในประเทศปี 2563 อยู่ที่ 940,000 คัน

และตั้งเป้าหมายการขายโตโยต้าที่ 310,000 คัน

มร.มิจิโนบุ ซึงาตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด แถลงสถิติการจำหน่ายรถยนต์ปี 2562 พร้อมคาดการณ์ตลาดรถยนต์ไทยปี 2563 เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2563 ณ โรงแรมคอนราด กรุงเทพฯ

มร.ซึงาตะ กล่าวว่า ยอดขายรถยนต์รวมในประเทศไทยปี 2562 ลดลง 3% โดยมียอดขายอยู่ที่ 1,007,552 คัน แต่อย่างไรก็ตามครั้งนี้ยังถือได้ว่าเป็นครั้งที่สี่ในประวัติศาสตร์ของตลาดรถยนต์ไทยที่มียอดขายถึงระดับหนึ่งล้านคัน ถึงแม้ว่าตลาดรถยนต์มีการหดตัวอย่างเห็นได้ชัดในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่เดือนกันยายนผ่านมา”

สถิติการขายรถยนต์ในประเทศปี 2562

   ยอดขายปี 2562 เปลี่ยนแปลง      เทียบกับปี 2561
Ž ปริมาณการขายรวม   1,007,552 คัน    -3.3%
Ž รถยนต์นั่ง      398,386 คัน    -0.3%
Ž รถเพื่อการพาณิชย์      609,166 คัน    -5.1%
Ž รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง)      492,129 คัน    -3.8%
Ž รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง)      431,677 คัน    -3.4%

สำหรับแนวโน้มตลาดรถยนต์ของปี 2563 มร.ซึงาตะ คาดการณ์ว่า“ปีนี้นับเป็นปีที่ท้าทายอีกปีหนึ่งสำหรับตลาดรถยนต์ไทย เนื่องจากตลาดรถยนต์ยังคงเผชิญกับหลายปัจจัย จากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจโลกที่ไม่แน่นอนและมาตรการควบคุมสินเชื่อรถยนต์ที่มีความเข้มงวดมากขึ้น ดังนั้นเราจึงคาดการณ์ว่าตลาดรถยนต์รวมในประเทศจะอยู่ที่ 940,000 คัน ลดลงประมาณ 7% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา” 

ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2563

ยอดขาย                      เปลี่ยนแปลง      

                                                 ประมาณการปี 2563    เทียบกับปี 2562                                             

  • ปริมาณการขายรวม         940,000 คัน                   -6.7%
  • รถยนต์นั่ง                        358,500 คัน                   -10.0%
  • รถเพื่อการพาณิชย์         581,500 คัน                    -4.5%

มร.ซึงาตะ กล่าวว่า “สำหรับยอดขายโตโยต้าในปี 2562 สามารถสร้างยอดขายเพิ่มขึ้นสวนทางกับ สถานการณ์ตลาดที่หดตัวลง โดยโตโยต้ามียอดขายอยู่ที่ 332,380 คัน เพิ่มขึ้นประมาณ 6% ครองส่วนแบ่งการตลาด 33.0% เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 2.8 จุด โดยปัจจัยหลักมาจากการตอบรับที่ดีของลูกค้าและจากการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่และรุ่นปรับปรุงใหม่ของรถยนต์นั่งอย่าง New Camry และ New Corolla Altis รวมไปถึงกิจกรรมส่งเสริมการขายของ Yaris และ ATIV ตลอดจนรถเพื่อการพาณิชย์ อย่าง Hilux Revo Z Edition, Commuter และ Majesty”

สถิติการขายรถยนต์ของโตโยต้าในปี 2562

ยอดขายปี 2562    เปลี่ยนแปลง       ส่วนแบ่งตลาด       ส่วนแบ่งตลาด

                เทียบกับปี 2561                                      เติบโต (จุด)

  • ปริมาณการขายโตโยต้า                                  332,380 คัน      +5.5%                              0%             +2.8
  • รถยนต์นั่ง                                                        117,708 คัน      +4.7%                              5%             +1.4
  • รถเพื่อการพาณิชย์                                         214,672 คัน      +5.9%                              2%             +3.6
  • รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง)             191,669 คัน      +8.3%                              9%             +4.3
  • รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง)         165,452 คัน      +9.6%                              3%             +4.5

มร.ซึงาตะ กล่าวเพิ่มเติมว่า “สำหรับเป้าหมายของโตโยต้าในปี 2563 โตโยต้ามีเป้าหมายการขายที่     310,000 คัน ด้วยส่วนแบ่งการตลาดที่ 33.0% ลดลงประมาณ 7% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้เราจะเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้วยการเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น พร้อมยกระดับประสบการณ์การเป็นเจ้าของรถยนต์โตโยต้าด้วยการดูแลเอาใจใส่ลูกค้านับตั้งแต่วันแรกที่ซื้อรถยนต์ ตลอดจนวันสุดท้ายของการใช้งาน”

ประมาณการขายรถยนต์ของโตโยต้าในปี 2563

ยอดขาย                      เปลี่ยนแปลง     ส่วนแบ่งตลาด

                                                                               ประมาณการปี 2563    เทียบกับปี 2562                                            

  • ปริมาณการขายรวม                                     310,000 คัน                     -6.7%               0%
  • รถยนต์นั่ง                                                    103,000 คัน                     -12.5%             7%
  • รถเพื่อการพาณิชย์                                      207,000 คัน                     -3.6%               6% 

ด้านการส่งออกในปี 2562 โตโยต้าได้ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปจำนวน 264,775 คัน ลดลง 10% ทั้งนี้ปริมาณการผลิตสำหรับการขายภายในประเทศและการส่งออกมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 570,850 คัน ลดลง 3% สืบเนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวยในหลายภูมิภาค เช่น โอเชียเนีย อเมริกากลางและอเมริกาใต้

ปริมาณการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปและการผลิตของโตโยต้าปี 2562

                                                                                             ปริมาณ                    เปลี่ยนแปลง      

                                                                                             ปี 2562                   เทียบกับปี 2561                                             

  • ปริมาณการส่งออก                                                   264,775 คัน                 -10%
  • ยอดผลิตรวมทั้งส่งออกและการขายในประเทศ        570,850 คัน                   -3%

 

สำหรับเป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปของโตโยต้าในปีนี้ คาดการณ์ไว้ว่าปริมาณการส่งออกจะอยู่ที่ 263,000 คัน ลดลงจากปีที่ผ่านมา 1% อันเนื่องมาจากสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศคู่ค้ายังไม่คลี่คลาย นอกจากนี้แผนการผลิตสำหรับการขายภายในประเทศและการส่งออกจะอยู่ที่ 556,000 คัน ลดลง 3%

เป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปและการผลิตของโตโยต้าปี 2563

                                                                                              ปริมาณ                    เปลี่ยนแปลง      

                                                                                              ปี 2563                     เทียบกับปี 2562                                             

  • ปริมาณการส่งออก                                                        263,000 คัน                  -1%
  • ยอดผลิตรวมทั้งส่งออกและการขายในประเทศ             556,000 คัน                   -3%

มร.ซึงาตะ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์ได้ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการปฏิรูปในรอบศตวรรษ โดยโตโยต้ามุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงองค์กรจากเดิมที่เป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ สู่การเป็น “องค์กรแห่งการขับเคลื่อน” (Mobility Company) ซึ่งหมายความว่าเราจะมุ่งเดินหน้าพัฒนาการบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คนในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตลอดระยะเวลากว่า 57 ปีของการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย โตโยต้ามีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะเดินหน้าพัฒนาให้เกิด “สังคมที่ดียิ่งขึ้น” (Ever-Better Society)  ผ่านโครงการต่างๆ อาทิ โครงการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมผ่านการแนะนำรถยนต์ไฮบริดในหลากหลายรุ่น รวมไปถึงการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฮบริดในประเทศไทย และการพัฒนาไฮบริดเจเนอเรชั่นที่ 4 ไม่เพียงเท่านี้ โตโยต้ายังพัฒนาระบบการจัดการแบตเตอรี่ไฮบริดแบบครบวงจร ซึ่งเราเชื่อว่าความพยายามทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำการสร้างสรรค์สังคมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง

นอกจากนี้โตโยต้ายังเน้นย้ำต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยในด้านต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากโครงการที่มีมากกว่า 30 ปี นั่นคือ “โตโยต้า ถนนสีขาว” โครงการที่มุ่งมั่นในการส่งเสริมความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน เพื่อนำไปสู่การสร้าง “สังคมคนขับรถดี” (Good Driver Society) โดยเฉพาะในปีที่ผ่านมากับ “หลักสูตรการขับขี่ปลอดภัย ประหยัดพลังงาน และรักษาสิ่งแวดล้อม” (Safe Eco Driving) ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้แทนจำหน่าย ประชาชน นักศึกษาและผู้ขับขี่รถสาธารณะ โดยปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมโครงการมากกว่า 70,000 คน ซึ่งเป็นความตั้งใจของโตโยต้าในการที่จะมีบทบาทสำคัญในการสร้าง “สังคมคนขับรถดี(Good Driver Society)  

สำหรับโครงการด้านสิ่งแวดล้อม โตโยต้ามีอีกหนึ่งกิจกรรมที่สำคัญคือ “โตโยต้า ปลูกป่าชายเลน” (Toyota Mangrove Reforestation) ซึ่งเราดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องภายใต้ชื่อโตโยต้า เมืองสีเขียว(Toyota Green Town) โดยในปีนี้โตโยต้าวางแผนที่จะปลูกป่าชายเลนเพิ่มขึ้นอีก 50,000 ต้น ส่งผลให้จำนวนต้นไม้ที่เราปลูกนับตั้งแต่เริ่มต้นโครงการในปี 2547 มีรวมทั้งหมดถึง 692,000 ต้น 

นอกจากนี้ เรายังเดินหน้าจัดกิจกรรมเก็บขยะชายเลน ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โดยเรามีเป้าหมายเก็บขยะให้ได้ 20 ตันในปีนี้ ซึ่งเมื่อรวมกันทั้งหมดแล้วนับได้ว่าเราจะสามารถช่วยให้มีการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่า 9,100 ตัน ในขณะเดียวกัน ด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์สังคมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน  เราได้ตั้งเป้าหมายที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมให้กับชุมชนในท้องถิ่นต่างๆ ผ่านศูนย์การเรียนรู้ 2 แห่งของเรา ได้แก่ “โตโยต้าไบโอโทป” (Toyota Biotope) ที่โรงงานประกอบรถยนต์โตโยต้า บ้านโพธิ์ และ “โตโยต้า เมืองสีเขียว อยุธยา” (Toyota Green Town Ayutthaya) ซึ่งประชาชนได้ให้ความสนใจศูนย์การเรียนรู้ทั้ง 2 แห่งนี้เป็นอย่างดี โดยมีจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมรวมตั้งแต่เปิดศูนย์ฯ กว่า 77,000 คน

และอีกหนึ่งความมุ่งมั่นในการส่งเสริมเศรษฐกิจที่ยั่งยืน โดยเรามีโครงการตโยต้าธุรกิจชุมชนพัฒน์” (Toyota Social Innovation) เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบริหารธุรกิจและหลักปฏิบัติของโตโยต้าให้ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มผลกำไรและพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่ผ่านมาเราได้ถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ธุรกิจชุมชน 19 แห่งทั่วประเทศ และในปีนี้เราวางแผนที่จะขยายการดำเนินการเพิ่มเติมอีก 13 แห่ง ผมเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการนี้ จะเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างยั่งยืนได้ในท้ายที่สุด”

          มร.ซึงาตะ กล่าวปิดท้ายว่า “อย่างที่ทุกท่านทราบ โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น ได้เป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก ภายใต้แนวคิดเพื่อทำในสิ่งที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้…ให้เป็นไปได้ (Start Your Impossible) โดยมีฐานะเป็นผู้สนับสนุนด้านการขับเคลื่อนในระหว่างช่วงการแข่งขัน ซึ่งโตโยต้าไม่เพียงแต่จะสนับสนุนยานพาหนะในการสัญจรไปมาเท่านั้น แต่จะยังมอบการบริการอื่นๆ     ที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อน ตลอดจนผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนการขับเคลื่อน ซึ่งรวมไปถึงหุ่นยนต์ด้วย  ทั้งนี้การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกจะจัดขึ้นในวันที่ 24 กรกฎาคม – 9 สิงหาคมนี้ ตามมาด้วยกีฬาพาราลิมปิกซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 25 สิงหาคม – 6 กันยายนนี้

           สำหรับโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ได้ผนึกกำลังร่วมกับกลุ่มพันธมิตรภายใต้โครงการ The Power of Unity” เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคมปีที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการเตรียมความพร้อมให้กับนักกีฬาชาวไทยก่อนการแข่งขัน พร้อมส่งกำลังใจให้ทัพนักกีฬาไทยสู้ศึกโอลิมปิกและพาราลิมปิกที่กำลังจะมาถึง ตลอดจนเฉลิมฉลองความสำเร็จของฮีโร่ชาวไทยผู้นำชื่อเสียงกลับมาสู่ประเทศ  ซึ่งในขณะนี้การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและ พาราลิมปิกเริ่มใกล้เข้ามาแล้ว และเรากำลังอยู่ในช่วงของการคัดเลือกตัวนักกีฬา ผมขอให้ทุกท่านมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสู่ความสำเร็จในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก 2020 ด้วยการส่งแรงเชียร์และกำลังใจให้กับบรรดานักกีฬาชาวไทยทุกคน

นอกจากนี้ โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ยังได้ให้การสนับสนุนรถโตโยต้า คอมมิวเตอร์ รุ่นใหม่ล่าสุดสำหรับนักกีฬาโอลิมปิก และรถโตโยต้า คอมมิวเตอร์ เวลแค็บ ที่มีการปรับแต่งพิเศษสำหรับนักกีฬาพาราลิมปิก ยิ่งไปกว่านั้น จากการที่โตโยต้ามีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเทคโนโลยีการขับเคลื่อน เราจึงตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ความสามารถที่มีในการช่วยพัฒนาอุปกรณ์ในการฝึกซ้อมของนักกีฬาพาราลิมปิก ที่สำคัญเรามีความยินดีที่จะมอบโอกาสให้นักกีฬาพาราลิมปิกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวโตโยต้า เริ่มต้นด้วยการรับนักกีฬาพาราลิมปิก 4 คนเข้ามาเป็นพนักงานของบริษัทฯ

          ทั้งหมดนี้คือความภาคภูมิใจของเราที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนเคียงข้างสังคมไทย”

 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนธันวาคม 2562

  • ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 89,285 คัน ลดลง 4%

อันดับที่ 1 โตโยต้า      29,487 คัน      ลดลง        5.3%        ส่วนแบ่งตลาด 33.0%

อันดับที่ 2 อีซูซุ          15,767 คัน      ลดลง      28.1%        ส่วนแบ่งตลาด 17.7%

อันดับที่ 3 ฮอนด้า       9,537 คัน      ลดลง      28.2%        ส่วนแบ่งตลาด 10.7%

  • ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 32,766 คัน ลดลง 7%

อันดับที่ 1 โตโยต้า      10,080 คัน      เพิ่มขึ้น     9.4%        ส่วนแบ่งตลาด 30.8%

อันดับที่ 2 ฮอนด้า        6,843 คัน     ลดลง      26.1%        ส่วนแบ่งตลาด 20.9%

อันดับที่ 3 มาสด้า        3,369 คัน     ลดลง      27.7%        ส่วนแบ่งตลาด 10.3%

  • ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 56,519 คัน ลดลง9%

อันดับที่ 1 โตโยต้า      19,407 คัน      ลดลง     11.5%         ส่วนแบ่งตลาด 34.3%

อันดับที่ 2 อีซูซุ           15,767 คัน      ลดลง     28.1%        ส่วนแบ่งตลาด 27.9%

อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ      4,623 คัน      ลดลง   22.8%           ส่วนแบ่งตลาด  8.2%

  • ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)

ปริมาณการขาย 45,025 คัน ลดลง 23.3%                 

อันดับที่ 1 โตโยต้า      17,128 คัน     ลดลง    11.8%         ส่วนแบ่งตลาด 38.0%

อันดับที่ 2 อีซูซุ           14,677 คัน     ลดลง     27.2%       ส่วนแบ่งตลาด 32.6%

อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ         4,623 คัน    ลดลง    22.8%         ส่วนแบ่งตลาด 10.3%

                               ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 5,432 คัน

โตโยต้า 2,164 คัน – มิตซูบิชิ 1,355 คัน – อีซูซุ 768 คัน – ฟอร์ด 703 คัน –  เชฟโรเลต 298 คัน –  นิสสัน 144 คัน

 5.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 39,593 คัน ลดลง 23.2%

อันดับที่ 1 โตโยต้า      14,964 คัน     ลดลง      12.5%        ส่วนแบ่งตลาด 37.8%

อันดับที่ 2 อีซูซุ           13,909 คัน     ลดลง      25.9%        ส่วนแบ่งตลาด 35.1%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด           3,890 คัน    ลดลง      21.2%        ส่วนแบ่งตลาด  9.8%

 สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – ธันวาคม 2562

1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 1,007,552 คัน ลดลง 3.3%                              

อันดับที่ 1 โตโยต้า      332,380 คัน    เพิ่มขึ้น      5.5%        ส่วนแบ่งตลาด 33.0%

อันดับที่ 2 อีซูซุ          168,215 คัน    ลดลง       5.4%         ส่วนแบ่งตลาด 16.7%

อันดับที่ 3 ฮอนด้า      125,833 คัน    ลดลง       1.9%         ส่วนแบ่งตลาด 12.5%

2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 398,386 คัน ลดลง 0.3%                                

        อันดับที่ 1 โตโยต้า       117,708 คัน    เพิ่มขึ้น      4.7%        ส่วนแบ่งตลาด 29.5%

        อันดับที่ 2 ฮอนด้า      96,154 คัน     เพิ่มขึ้น      0.4%        ส่วนแบ่งตลาด 24.1%

        อันดับที่ 3 มาสด้า       46,729 คัน     ลดลง       8.8%         ส่วนแบ่งตลาด 11.7%

3.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 609,166 คัน ลดลง 5.1%                    

อันดับที่ 1 โตโยต้า      214,672 คัน    เพิ่มขึ้น      5.9%        ส่วนแบ่งตลาด 35.2%

อันดับที่ 2 อีซูซุ           168,215 คัน    ลดลง       5.4%         ส่วนแบ่งตลาด 27.6%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด        49,842 คัน     ลดลง      24.3%        ส่วนแบ่งตลาด  8.2%

4.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)

    ปริมาณการขาย 492,129 คัน ลดลง 3.8%

อันดับที่ 1 โตโยต้า      191,669 คัน    เพิ่มขึ้น       8.3%       ส่วนแบ่งตลาด 38.9%

อันดับที่ 2 อีซูซุ           153,170 คัน    ลดลง       5.5%        ส่วนแบ่งตลาด 31.1%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด        49,841 คัน     ลดลง      23.5%       ส่วนแบ่งตลาด 10.1%

                               ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน : 60,452 คัน

โตโยต้า 26,217 คัน – มิตซูบิชิ 13,558 คัน – อีซูซุ 9,477 คัน – ฟอร์ด 6,355 คัน – เชฟโรเลต 3,091 คัน –  นิสสัน 1,754 คัน

5.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 431,677 คัน ลดลง 3.4%

อันดับที่ 1 โตโยต้า      165,452 คัน   เพิ่มขึ้น      9.6%        ส่วนแบ่งตลาด 38.3%

อันดับที่ 2 อีซูซุ          143,693 คัน   ลดลง       3.9%         ส่วนแบ่งตลาด 33.3%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด         43,486 คัน    ลดลง     21.7%         ส่วนแบ่งตลาด 10.1%