BMW 2002 Turbo เจ้าลูกเป็นขี้เหร่

BMW 2002 Turbo เจ้าลูกเป็นขี้เหร่ กับความแรงที่ไม่ลงตัว

ก่อนจะพูดถึง BMW 2002 Turbo เจ้าลูกเป็ดขี้เหร่ ขอย้อนกลับไปเมื่อหลายสิบปีก่อน ใครจะคิดว่ารถแข่งเริ่มคบกับตัวเพิ่มความแรงที่เรียกว่า “ซูเปอร์ชาร์จ” มาตั้งแต่ปี  1930 ซึ่งเมื่อประสบความสำเร็จในการสร้างพลังให้กับรถแข่ง ก็ได้รับความนิยมในการใช้งาน ซูปเปอร์ชาร์จ มาตลอดไม่ว่าจะเป็นตัวแรงอย่าง Alfa Romeo P3 และรถยนต์ Mercedes-Benz Grand Prix นอกจากนี้รถยนต์บนท้องถนนที่ได้ชื่อว่าเป็นระดับไฮเอนด์หลายยี่ห้อก็ใช้ระบบนี้เช่น Duesenberg SJ และ Bugatti Type 57C

แต่หลังจากจบฤดูการแข่งขันในปี 1951 ซูเปอร์ชาร์จ ก็เริ่มไม่เป็นที่นิยม ด้วยเหตุผลที่ว่า ซูเปอร์ชาร์จ สร้างความเสียหายให้กับตัวเครื่องยนต์อย่างมากเพราะเครื่องยนต์ต้องทำงานหนัก อีกทั้งยังสิ้นเปลืองพลังงาน

ยุคต่อมาก็เป็นตกมาเป็นของเครื่องยนต์ที่เรียกกันว่า N/A หรือว่า Naturally Aspirated กลับมาเขย่าวงการแข่งรถอีกครั้งในปี 1950 แต่ก็ยืนยาวมาได้เพียง 10 ปี ในปี 1960 ตัวเพิ่มความแรงให้กับเครื่องยนต์ระบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูง โดยสารนำเอาไอเสียมาปั่นใบพัดสร้างแรงอัดอากาศที่เรียกว่า “เทอร์โบชาร์จ” ก็เข้ามากินรวบในวงการรถแข่ง

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่า Turbo จะเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพมากกว่า แต่ก็ไม่ได้ให้กำลังที่ราบรื่นเหมือน Supercharger คือในช่วงที่เครื่องยนต์ทำงานรอบต่ำ แรงดันของไอเสียที่ออกมาเพื่อไปปั่นกังหันฝั่งไอดีจะน้อย ซึ่งเมื่อมีการบีบอัดที่ต่ำกว่า ทำให้เครื่องยนต์ก็ต้องจัดการดูดอากาศเอง เพื่อชดเชยแรงดันสูงของเทอร์โบ ซึ่งลักษณะนี้คือสิ่งที่เรียกกันทั่วไปว่าอาการ “เทอร์โบแล็ค” นั่นเอง

BMW 2002 Turbo เจ้าลูกเป็นขี้เหร่

สำหรับค่ายรถยนต์ BMW ในฐานะวิวัฒนาการขั้นสุดท้ายของเครื่องยนต์สี่สูบ BMW ได้เปิดตัวเทอร์โบชาร์จรุ่นแรกในปี 1972 ซึ่งวิศวกรที่ทำการออกแบบและติดตั้งก็คือ Paul Bracq ซึ่งได้รออกแบบ BMW Turbo Concept หลังจากนั้นหนึ่งปีต่อมา Turbo ได้เปิดไลน์ผลิต  และอวดโฉม ต่อสาธารณะชน ในงาน Frankfurt Motor Show  ปี 1973 เพื่อเพิ่มความแตกต่าง และความพิเศษให้กับรถ

โดยจับเอา BMW 2002 Tii เครื่องยนต์ N/A มาเล่น พร้อมปรับปรุงรูปลักษณ์ใหม่ตามสไตล์ BMW Motorsport โดยติดตั้งโป่งล้อให้ดูดุดัน และที่บอกถึงความแรงได้อย่างชัดเจนก็คือ เฟนเดอร์ด้านหน้า พร้อมสัญลักษณ์เทอร์โบที่ชายล่าง

ดูเหมือนจะดี แต่ทว่า2002 Turbo ไม่ประสบความสำเร็จเอาซะเลย  ด้วยเหตุผลหลักๆ หลายประการก็คือ รูปร่างหน้าตาที่ไม่โดดเด่นโดนใจ การบังคับควบคุม หรือว่าแฮนด์ลิ่งที่ไม่ดีนัก นอกจากนี้ เทอร์โบก็ยังคงประสบปัญหา เรื่อง “เทอร์โบ แล็ค” เช่นเดียวกับปัญหาของรถแข่งที่เจอ

ซึ่งผู้คนคาดหวังถึงเรื่องความแรงเมื่อรถมีระบบอัดอากาศติดตัวรถมา แต่เทอร์โบจะทำงานก็ต่อเมื่อเครื่องยนต์ผ่านพ้น 4,000 รอบ/นาทีไปแล้ว ในช่วงต้นของ เครื่องยนต์ บล็อก M10 ขนาด 2.0 ลิตร จึงไม่ทันใจผู้ใช้มากนัก และนี่ถือเป็นการบ้านของผู้บริหาร ซึ่งรถออกมาได้เพียงปีกว่ๆ ก็ต้องยุติรุ่นเทอร์โบนี้ไป

อย่างไรก็ตามหลังจากนั้นไม่นานนัก ในตัว BMW 2002 ก็ถูกแทนที่ด้วยอนุกรมใหม่ก็คือ BMW ซีรีส์ 3 ตัวแรก ในบอดี้รหัสที่ชื่อว่า “E21” โดย BMW 2002 Turbo ผลิตออกมาจำหน่ายทั่วโลกทั้งหมดเพียง 1,672 คัน โดยทำออกมาเพียง 2 สีก็คือสีขาว และสีซิลเวอร์

หลังจากนั้น BMW ยังคงใช้เทอร์โบด้วยความสำเร็จอย่างมากในการแข่งรถโดยเฉพาะอย่างยิ่งในฟอร์มูล่าวันในปี 1980 แต่สำหรับเครื่องยนต์เบนซินผู้ผลิตชาวเยอรมันไม่เคยสร้างรถยนต์บนถนนที่ติดตั้งเทอร์โบอีกเลย จะเห็นมีก็แต่เครื่องยนต์ดีเซลที่แก้ปัญหาการทำงานที่ล่าช้าของเทอร์โบได้เป็นอย่างดี

 

 

 

 

 

BMW 2002 Turbo ลูกเป็นขี้เหร่ กับความแรงที่ไม่ลงตัว

ก่อนจะพูดถึง BMW 2002 Turbo ขอย้อนกลับไปเมื่อหลายสิบปีก่อน ใครจะคิดว่ารถแข่งเริ่มคบกับตัวเพิ่มความแรงที่เรียกว่า “ซูเปอร์ชาร์จ” มาตั้งแต่ปี  1930 ซึ่งเมื่อประสบความสำเร็จในการสร้างพลังให้กับรถแข่ง ก็ได้รับความนิยมในการใช้งาน ซูปเปอร์ชาร์จ มาตลอดไม่ว่าจะเป็นตัวแรงอย่าง Alfa Romeo P3 และรถยนต์ Mercedes-Benz Grand Prix นอกจากนี้รถยนต์บนท้องถนนที่ได้ชื่อว่าเป็นระดับไฮเอนด์หลายยี่ห้อก็ใช้ระบบนี้เช่น Duesenberg SJ และ Bugatti Type 57C

แต่หลังจากจบฤดูการแข่งขันในปี 1951 ซูเปอร์ชาร์จ ก็เริ่มไม่เป็นที่นิยม ด้วยเหตุผลที่ว่า ซูเปอร์ชาร์จ สร้างความเสียหายให้กับตัวเครื่องยนต์อย่างมากเพราะเครื่องยนต์ต้องทำงานหนัก

อีกทั้งยังสิ้นเปลืองพลังงาน ยุคต่อมาก็เป็นตกมาเป็นของเครื่องยนต์ที่เรียกกันว่า N/A หรือว่า Naturally Aspirated กลับมาเขย่าวงการแข่งรถอีกครั้งในปี 1950 แต่ก็ยืนยาวมาได้เพียง 10 ปี ในปี 1960 ตัวเพิ่มความแรงให้กับเครื่องยนต์ระบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูง โดยสารนำเอาไอเสียมาปั่นใบพัดสร้างแรงอัดอากาศที่เรียกว่า “เทอร์โบชาร์จ” ก็เข้ามากินรวบในวงการรถแข่ง

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่า Turbo จะเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพมากกว่า แต่ก็ไม่ได้ให้กำลังที่ราบรื่นเหมือน Supercharger คือในช่วงที่เครื่องยนต์ทำงานรอบต่ำ แรงดันของไอเสียที่ออกมาเพื่อไปปั่นกังหันฝั่งไอดีจะน้อย ซึ่งเมื่อมีการบีบอัดที่ต่ำกว่า ทำให้เครื่องยนต์ก็ต้องจัดการดูดอากาศเอง เพื่อชดเชยแรงดันสูงของเทอร์โบ ซึ่งลักษณะนี้คือสิ่งที่เรียกกันทั่วไปว่าอาการ “เทอร์โบแล็ค” นั่นเอง

BMW 2002 Turbo

สำหรับค่ายรถยนต์ BMW ในฐานะวิวัฒนาการขั้นสุดท้ายของเครื่องยนต์สี่สูบ BMW ได้เปิดตัวเทอร์โบชาร์จรุ่นแรกในปี 1972 ซึ่งวิศวกรที่ทำการออกแบบและติดตั้งก็คือ Paul Bracq ซึ่งได้รออกแบบ BMW Turbo Concept หลังจากนั้นหนึ่งปีต่อมา Turbo ได้เปิดไลน์ผลิต  BMW 2002 Turbo ต่อสาธารณะชน ในงาน Frankfurt Motor Show  ปี 1973 เพื่อเพิ่มความแตกต่าง และความพิเศษให้กับรถ

โดยจับเอา BMW 2002 Tii เครื่องยนต์ N/A มาเล่น พร้อมปรับปรุงรูปลักษณ์ใหม่ตามสไตล์ BMW Motorsport โดยติดตั้งโป่งล้อให้ดูดุดัน และที่บอกถึงความแรงได้อย่างชัดเจนก็คือ เฟนเดอร์ด้านหน้า พร้อมสัญลักษณ์เทอร์โบที่ชายล่าง

ดูเหมือนจะดี แต่ทว่า BMW 2002 Turbo ไม่ประสบความสำเร็จเอาซะเลย  ด้วยเหตุผลหลักๆ หลายประการก็คือ รูปร่างหน้าตาที่ไม่โดดเด่นโดนใจ การบังคับควบคุม หรือว่าแฮนด์ลิ่งที่ไม่ดีนัก

นอกจากนี้ เทอร์โบก็ยังคงประสบปัญหา เรื่อง “เทอร์โบ แล็ค” เช่นเดียวกับปัญหาของรถแข่งที่เจอ ซึ่งผู้คนคาดหวังถึงเรื่องความแรงเมื่อรถมีระบบอัดอากาศติดตัวรถมา แต่เทอร์โบจะทำงานก็ต่อเมื่อเครื่องยนต์ผ่านพ้น 4,000 รอบ/นาทีไปแล้ว

ในช่วงต้นของ เครื่องยนต์ บล็อก M10 ขนาด 2.0 ลิตร จึงไม่ทันใจผู้ใช้มากนัก และนี่ถือเป็นการบ้านของผู้บริหาร ซึ่งรถออกมาได้เพียงปีกว่ๆ ก็ต้องยุติรุ่นเทอร์โบนี้ไป

                อย่างไรก็ตามหลังจากนั้นไม่นานนัก ในตัว BMW 2002 ก็ถูกแทนที่ด้วยอนุกรมใหม่ก็คือ BMW ซีรีส์ 3 ตัวแรก ในบอดี้รหัสที่ชื่อว่า “E21” โดย BMW 2002 Turbo ผลิตออกมาจำหน่ายทั่วโลกทั้งหมดเพียง 1,672 คัน โดยทำออกมาเพียง 2 สีก็คือสีขาว และสีซิลเวอร์                

                หลังจากนั้น BMW ยังคงใช้เทอร์โบด้วยความสำเร็จอย่างมากในการแข่งรถโดยเฉพาะอย่างยิ่งในฟอร์มูล่าวันในปี 1980

แต่สำหรับเครื่องยนต์เบนซินผู้ผลิตชาวเยอรมันไม่เคยสร้างรถยนต์บนถนนที่ติดตั้งเทอร์โบอีกเลย จะเห็นมีก็แต่เครื่องยนต์ดีเซลที่แก้ปัญหาการทำงานที่ล่าช้าของเทอร์โบได้เป็นอย่างดี