จัดเต็มออฟโรดโหมดขับสี่ BAJA จากดาลัด สู่มุ่ยเน่ เวียดนาม
FORD Ranger Raptor ลุยทะเลทรายมุ่ยเน่ ตะกายผืนป่าดาลัด กับการเดินทางครั้งใหม่ ที่ท้าทายทั้งคนและรถ ในประเทศเวียดนาม ดินแดนที่มีความหลากหลายในด้านภูมิประเทศที่สวยงามแปลกตา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความโดดเด่นที่แตกต่างกันไปของสองเมืองหลัก การเดินทางที่แม้จะวางแบบแผนเอาไว้ได้ลองของกันอย่างมีขั้นตอนอยู่แล้ว แต่สิ่งที่นอกเหนือจากความท้าทายของเส้นทางทั้งหมดก็คือประสิทธิภาพในการลุยของพาหนะที่เคียงข้างและคู่ใจเราตลอดการเดินทางของทริปนี้ สร้างความแตกต่างในรูปแบบของ “กระบะตัวลุย” ที่เคยสัมผัสมาได้อย่างชัดเจน
ไม่แปลกใจว่าทำไมหลายคนจึงยอมจ่ายค่าตัว FORD Ranger Raptor สูงกว่าราคากระบะในท้องตลาด นั่นเป็นเพราะการมองหาความแตกต่าง และคุณภาพที่โดดเด่นเห็นได้ชัด ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีมาตั้งแต่กำเนิด โดยโรงงานผู้ผลิต ซึ่งแน่นอนว่าการเป็น “พันธุ์แท้” จะได้รับความไว้วางใจมากกว่า
Ranger Raptor กระบะตัวลุยแต่กำเนิด
ฟอร์ด เรนเจอร์ แร็พเตอร์ใช้เครื่องยนต์แบบ Bi-Turbo (เทอร์โบคู่) ขนาด 2.0 ลิตร และเกียร์อัตโนมัติ 10 สปีด มีแรงบิดและแรงม้าที่เต็มประสิทธิภาพด้วยเทอร์โบ 2 ลูกและอัตราทดเกียร์ที่แคบลง ให้กำลังสูงสุด 213 แรงม้า และแรงบิดสูงสุด 500 นิวตันเมตร
นอกเหนือจากกำลังของเครื่องยนต์ที่โดดเด่นแล้ว สิ่งที่น่าสนใจในการออกแบบแชสซีของเรนเจอร์ แร็พตอร์ ก็ทำมาเป็นพิเศษเพื่อรองรับระบบช่วงล่างที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อจะเพิ่มระยะช่วงล้อคู่หน้าและหลัง หรือระยะแทร็กให้กว้างขึ้น รวมถึงเพิ่มระยะการให้ตัวของล้อได้มากขึ้น ตอบสนองการขับขี่ที่แบบออฟโรดความเร็วสูง และทนต่อแรงกระแทกที่อาจเกิดจากการขับขี่ได้ดีเยี่ยมด้วยเหล็กอัลลอย HSLA (High Strength Low-Alloy) และเสริมความแข็งแรงด้านข้างของแชสซี เพื่อรองรับแรงกระแทกที่เกิดจากการขับขี่ด้วยความเร็วสูง
แชสซีด้านหน้าเพิ่มความแข็งแรงของจุดยึดหูช็อคที่ถูกขยายความสูงขึ้นมา ในขณะที่ระบบกันสะเทือนหลังเป็นแบบคอยลโอเวอร์ช็อคซึ่งทำขึ้นมาพิเศษเฉพาะเรนเจอร์ แร็พเตอร์ รวมถึงระบบวัตต์ลิงค์ ช่วยให้เพลาเคลื่อนที่ขึ้น–ลงได้อย่างอิสระโดยที่มีการขยับตัวในแนวราบน้อยมาก จึงช่วยเรื่องการทรงตัวและการควบคุมรถให้ดียิ่งขึ้น ขณะที่โครงสร้างแท่นยึดยางอะไหล่ได้รับการเสริมความแข็งแรงเพื่อรองรับยางอะไหล่ขนาดใหญ่ถึง 17 นิ้ว แน่นอนว่าล้อที่ใช้จะเป็นอัลลอยขนาด 17 นิ้ว พร้อมยาง LT285/70 R17 A/T
ลุยออฟโรดที่จุดชมวิว Doi Co Hong เมืองดาลัด
FORD Ranger Raptor กับภาระกิจลุยทะเลทราย ตะกายผืนป่า โดยใช้เส้นทางจากเมืองดาลัดสู่เมืองมุ่ยเน่ ในประเทศเวียดนาม สำหรับดาลัด เมืองตากอากาศที่รู้จักกันตั้งแต่สมัยเป็นเมืองขึ้นฝรั่งเศส เมืองที่ราบบนเขาสูงกว่า 1,500 เมตร อากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินเขา เมืองที่ขึ้นชื่อเรื่องการปลูกดอกไม้ และผักฤดูหนาว เราออกเดินทางมานอกเมืองไม่ไกลนักมีจุดชมวิว ซึ่งเป็นผืนป่าสนบนเขาสูงที่เราเรียกว่าจุดชมวิว “โดยโกฮง” เป็นจุดที่เหมาะอย่างยิ่งกับการทดสอบขับรถประเภทขับเคลื่อนสี่ล้อ เนื่องจากหลายจุดมีหลุมลึก เนินสูง และทางชันให้ลองระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ และสมรรถนะของรถขับเคลื่อนสี่ล้อได้เป็นอย่างดี
โดยการขับในวันแรกหลังจากที่เดินทางมาถึง “โดยโกฮง” แล้ว เราจะได้ลองขับในรูปแบบของออฟโรดทั้งหมด 7 สถานีด้วยกัน โดยสถานีแรกทดสอบทางลงเนินชันด้วย ระบบควบคุมความเร็วขณะลงเขา Hill Descent Control หรือ “HDC” ระบบจะทำหน้าที่ควบคุมระบบเบรกโดยอัตโนมัติต่อเนื่อง รักษาความเร็วตามที่เรากำหนดได้อย่างมั่นใจ สิ่งที่พิเศษสำหรับ HDC ในRaptor ก็คือ สามารถเพิ่มความเร็วในการลงทางลาดชันได้ด้วยปุ่ม บวก ลบ บนแป้นพวงมาลัยด้านขวามือ ซึ่งความเร็วสูงสุดที่ปรับได้คือไม่เกิน 30 กม./ชม.
ในสเตชั่นที่ 2 เป็นการทดสอบช่วงล่างกับการลงบ่อโคลน ซึ่งน่าจะถือเป็นการวอร์มอัพก่อนเจออุปสรรค์ที่ยากยิ่งขึ้น งานนี้ต้องเปลี่ยนระบบขับเคลื่อนสี่ล้อจาก 4 H มาเป็น 4 L
สเตชั่ที่ 3 เป็นการขับในเส้นทางเนินสโลป เอียงราว 45 องศา Ranger Raptor เป็นรถที่ออกแแบบให้ระยะแทร็กค่อนข้างกว้างในการไต่เขาเนินเองถึงแม้จะมีทางชันพอสมควรก็ช่วยให้การขับบนเส้นทางในจุดนี้เป็นไปอย่างปลอดภัย และง่ายดาย
สเตชั่นที่ 4 ลุยแบบไต่ขอบบ่อซึ่งเป็นเส้นทางเอียงที่ค่อนข้างชัน การใช้ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อความเร็วต่ำใน Raptor ที่เข้าโหมดการใช้งานที่ง่ายพร้อมทั้งการยืดยุบของช่วงล่างที่ให้ตัวได้ค่อนข้างดีถือเป็นจุดเด่นของ Ranger Raptor ที่ช่วนให้สามารถผ่านอุปสรรค์ไปได้อย่างไม่ยากเย็น
สเตชั่นที่ 5 เราปรับระบบขับเคลื่อนมาเป็น 4 H กับโหมด BAJA ลุยทางออฟโรด หรือว่าทางฝุ่นในช่วงความเร็วสูง ซึ่งระยะทางไม่ไกลมากนัก ไม่มีหลุมลึก หรือบ่อโคลน แต่สิ่งที่น่าท้าทายสำหรับจุดนี้ก็คือ เส้นทางที่ขรุขระ ร่องยาง หรือรอยทางเก่าที่แข็ง ทางฝุ่น และกรวดลอย ความเร็วที่เราใช้อยู่ราว 60-80 กม./ชม. ซึ่ง Raptor ก็แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของโหมด BAJA ช่วงล่างซับแรงสั่นสะเทือนได้เป็นอย่างดี ไม่แข็งกระด้าง แต่ทว่าเรายังรู้สึกได้ถึงการเกาะถนนที่มั่นคง
สเตชั่นที่ 6 เป็นการขับในร่องน้ำสึก และสูงชัน กลับเข้าสู่โหมด 4 L อีกครั้ง เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของระบบ DIFF LOCK นอกจากนี้การออกแบบให้หูยึดช็อคอัพให้สูงขึ้น รวมทั้งการใช้ช็อคอับจาก FOX ที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยให้การยืด และยุบของระบบรองรับน้ำหนักทำได้สูงมากยิ่งขึ้น ส่งผลโดยตรงให้สมรรถนะในการไต่ทางชันเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยเพียงการวางแนวล้อให้ถูกจุดและเติมคันเร่งในรอบเครื่องยนต์ไม่สูงนัก ก็สามารถผ่านอุปสรรค์ได้อย่างสบายๆ
สเตชั่นที่ 7 ก่อนจาก โดยโกฮง เป็นการทดสอบระบบส่งกำลัง และพละกำลังของ Raptor ในการไต่ทางชันที่มีระยะทางไกลกว่า 400 เมตร โดยเกียร์ 10 สปีดทำงานได้ดีอย่างต่อเนื่อง กำลังจากเครื่องยนต์ 2.0 ลิตร เทอร์ยังคงแรงตั้งแต่ต้นจนปลายปลายเนินสูง
ระบบ Terrain Management System (TMS)
ก่อนที่เราจะเดินทางมุ่งหน้าสู่ การขับขี่บนเส้นทางอีกหนึ่งความท้าทาย ทะเลทรายแห่งเมืองมุ่ยเน่ เรามาพูดถึงระบบการขับขี่ที่น่าสนใจของ Raptor กันก่อน โดยเขาจะเรียกว่าระบบ Terrain Management System (TMS) ที่ปรับโหมดการขับขี่ได้ 6รูปแบบ ผู้ขับขี่สามารถเลือกโหมดจากปุ่มบนพวงมาลัย แยกเป็น
โหมดการขับขี่ทางเรียบ 2 โหมดคือ
โหมดปกติ–เน้นความสบาย นุ่มนวล และประหยัดน้ำมัน
โหมดสปอร์ต–ตอบโจทย์ผู้ที่มีใจรักการขับขี่ทางเรียบ เน้นการเปลี่ยนเกียร์เร็วและฉับไวในขณะที่รอบเครื่องสูง พร้อมทั้งค้างรอบเครื่องไว้เพื่อให้การตอบสนองคันเร่งที่ดีขึ้นอย่างที่ผู้ขับขี่ต้องการ
โหมดการขับขี่ออฟโรดอีก 4 โหมดย่อยคือ
โหมดหญ้า/กรวดหิน หิมะ –ออกแบบมาให้ขับขี่บนทางออฟโร้ดที่มีพื้นผิวลื่นและเป็นหลุมบ่อ โดยระบบจะทำการเปลี่ยนเกียร์อย่างนุ่มนวลขึ้นพร้อมทั้งออกตัวด้วยเกียร์ที่สอง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยและลด
อัตราการลื่นไถลของล้อรถ
โหมดโคลน/ทราย –ระบบจะปรับการตอบสนองของระบบควบคุมการลื่นไถลให้เหมาะสมกับพื้นผิวที่มี
ความลึกและสามารถเปลี่ยนรูปร่างได้อย่างพื้นทรายและโคลน ด้วยการใช้เกียร์ต่ำที่มีแรงบิดสูง
โหมดหิน –ใช้เมื่อขับขี่บนพื้นผิวในเขตภูเขาที่ลาดชัน ต้องใช้ความเร็วต่ำ และเน้นการควบคุมรถให้
ขับเคลื่อนอย่างช้าๆ
โหมดบาฮา – ระบบจะปรับการตอบสนองของเครื่องยนต์ให้เหมาะกับการขับขี่ออฟโรดด้วยความเร็วสูง
เสมือนนักแข่งแรลลี่กลางทะเลทรายบาฮาอ้นเลื่องชื่อ โดยระบบป้องกันล้อหมุนฟรีจะถูกตัดการทำงาน เพื่อ
ไม่ให้แทรกแซงการทำงานของเครื่องยนต์ รวมทั้งเกียร์จะถูกปรับให้มีประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด ระบบจะ
ค้างรอบเครื่องไว้นานขึ้นและเปลี่ยนเกียร์ลงได้อย่างรวดเร็วยิ่งกว่าเดิม
205 กม.จากดาลัดสู่มุ่ยเน่
แม้ว่า Ford Ranger Raptor จะโดดเด่นในเรื่องของการขับขี่ที่สบบุกสมบัน แต่เราก็ไม่ควรลืมความ “ครบเครื่อง” ที่ Raptor ใส่มาให้ ทั้งเรื่องของความปลอดภัย และความสะดวกสบายในการเดินทาง คงไม่ต้องพูดกันเยอะ เชื่อว่าหลายท่านคงศึกษาข้อมูล และรับรู้ถึงสิ่งที่น่าสนใจในตัวรถ
ในประเทศเวียดนาม ไม่ว่าจะเป็นเมืองใด ก็ถือว่ามีการจราจรพลุกพล่าน ถนนเส้นหลักโดยมาเป็นเลนสวน การสัญจรเป็นแบบ ชิดขวาเช่นเดียวกับอเมริกา และจีนซึี่งบ้านเขาจะใช้รถพวงมาลัยซ้ายขับชิดขวา ซึ่งเราก็ต้องปรับตัวให้เป็นไปตามกฏจราจรของเขาด้วย อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่งก็คือมอเตอร์ไซค์ในเวียดนาม ในเมืองจะมีมาก แต่ตามชนบทแม้จะน้อย แต่หลายคันชอบจอดคุยกันกลางถนน ระยะทาง 205 กม. จึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ท้าทายสำหรับการเดินทางของขบวน Ford Ranger Raptor
มุ่ยเน่ เมืองชายฝั่งทะเลแปซิฟิก หรือใครๆ มักคุ้นกับชื่อของทะเลจีนใต้ ดินแดนแห่งผลไม้ประจำถิ่นที่โด่งดัง แก้วมังกร ที่มีสายพันธ์ุเดียวกับพืชประเทศกระบองเพชร มันจึงชื่นชอบดินทรายเป็นพิเศษ ที่นี่มีคลื่นลมชายฝั่งที่รุนแรง สภาพไม่แห้งแล้ง แต่หลายแห่งกลายเป็นทะเลทราย เนื่องจากลมทะเลที่แรงนั้นพัดเอาเม็ดทรายเม็ดเล็กขึ้นมาบนบก และปลิวไปไกลหลายสิบกิโลเมตรกระจายไปทั่ว สะสมจนกลายเป็นทะเลทรายที่น่าอัศจรรย์
ทะเลทรายที่ถือว่ามีชื่อเสียง และสวยงามที่สุดในมุ่ยเน่ หรือในเวียดนามก็คือ ที่ White Sand Dune Of Mui Neซึ่งเป็นสถานที่ท่องเทียวอันโด่งดัง เพราะนักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับประสบการณ์ใหม่ๆ บนผืนทรายอันไกลโพ้น ไม่ว่าจะเป็นการเดิน หรือนั่งรถในทะเลทราย การขับ ATV ในท้องทะเลทราย และการถ่ายภาพสวยๆ ที่ดูเวิ้งว้าง กับพื้นผิวของทรายที่เป็นสีขาวประกาย
ถึงเวลา FORD Ranger Raptor ลุยทะเลทราย White Sand Dune
เราถึงทะเลทรายขาวในช่วงบ่าย ทีมงานเตรียมพร้อมในเรื่องของรถ Ranger Raptor ถูกปล่อยลมยางให้เหลือราว 10 ปอนด์ ซึ่งเราดูว่าต่ำเกินไปหน่อย ด้วยน้ำหนักตัวของรถ และผิวทราย ที่ผ่านการบีบอัดของรอยล้อรถใน Sand Dune มานานับปี แต่ 10 ปอนด์ ก็ไม่ถือว่าเสียหายอะไรเพียงแต่สาดโค้งมากๆ อาจะถึงกับยางหลุดขอบได้
หลังจากรับทราบเส้นทางทดสอบกันแล้วก็เริ่มลุย Sand Dune ด้วยการปรับระบบขับเคลื่อนสี่ล้อแบบ 4 H แต่เราจะไม่เลือกใช้โหมดโหมดลุยทราย เนื่องจากการขับขี่ใช้ความเร็วที่สูง โหมด BAJA หรือ บาฮา น่าจะมีความเหมาะสมกับการขับบน White Sand Dune ได้อย่างลงตัวที่สุด
อย่างไรก็ตาม เทคนิคในการขับรถบนผืนทราย อีกอย่างที่ช่วยไม่ให้รถเกิดการลื่นไถลและรักษาโมเมนตั้มที่ดีที่สุดด้วยการใช้เกียร์แมน่วลโหมด ซึ่งปรับคันเกียรืไปที่ตำแหน่ง M และควบคุมเกียร์ได้อย่างง่ายดายด้วยแพดเดิ้ลชิพบนคอพวงมาลัย รักษาความเร็ว และรอบให้ได้อย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งไปจอดหรือหยุดนิ่งบนทางทรายที่ไม่แน่ใจว่าจะสามารถจอดได้
เส้นทางทดสอบของ White Sand Dune มีความหลากหลาย ไม่แพ้เส้นทางออฟโรดใน โดยโกฮง ที่ดาลัด มีความหลากหลายทั้งเรื่องของเนินทราย ที่ต้องไต่ระดับความชันด้วยกำลังของเครื่องยนต์ การลง Dune ที่สูงชันราว 60 องศา สูงมากกว่าตึกสี่ชั้น มองด้วยตาเปล่าจนแทบไม่อยากลง แต่เมื่ออยู่ใน Raprtor ดูเหมือนว่า ความเสียว และความน่ากลัวจะลดน้อยลงไป และเราสามารถขับผ่านไปได้เหมือนกับมันเป็นเพียงแค่หลุมเล็กๆ เท่านั้น
ตลอด 2 วันเต็ม กับการทดสอบ FORD Ranger Raptor ลุยทะเลทราย ตะกายผืนป่า ที่มีเส้นทางสุดท้าทาย ซึ่งทั้งหมดนั้นถือเป็นสิ่งตอกย้ำถึงประสิทธิภาพของ Raptor กระบะที่เขาบอกว่า “แกร่ง” ซึ่งผม และทีมงาน “Carbeliever” มองแล้วว่า ไม่ใช่แค่ “แกร่ง” อย่างเดียว Raptor ยังเกิดมา “เก่ง” บอกได้เลยว่าเงินทุกบาทที่คุณลงทุน ถือว่า “คุ้มค่า” อย่างน่าอิจฉาครับ