“Hama Wing”พลังลมเพื่อไฟฟ้า“ไฮโดรเจน” จากโตโยต้า

Hama Wing” (ฮามะ วิง) เป็นชื่อเล่นของ โรงงานผลิตพลังงานลมเมืองโยโกฮามา  ซึ่งเป็นโรงงานผลิต ไฟฟ้าพลังงานลมที่ ก่อตั้งขึ้นใน จังหวัดคานากาว่า เมืองโยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่น โดย กังหันลมที่ใช้นั้นเป็น ระบบลม Vestas A / S รุ่น V80-2.0 MW ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางโรเตอร์หรือเส้นรอบวงของกังหันใบพัดอยู่ที่ 80 เมตร (260 ฟุต) และตัวหอคอยที่เป็นฐานของใบพัดสูงถึง 78 เมตร (256 ฟุต) แต่ถ้าจะวัดที่จุดสูงสุดของการหมุนรวมกังหันด้วยก็จะมีความสูงถึง 118 เมตร (387 ฟุต) ทีเดียว นับว่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงกว่า กระเช้าชิงช้าสวรรค์ นาฬิกา Cosmo Clock 21 ขนาด 112.5 เมตร (369 ฟุต) ที่เป็นสัญลักษณ์ของเมืองโยโกฮาม่า กังหันมีกำลังการผลิต 1,980 กิโลวัตต์ (เทียบกับการใช้พลังงานไฟฟ้าได้มากถึง 860 เรือน) และมีจุดประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งพลังงานทดแทนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและให้กระแสไฟฟ้าไปยัง เขตมินาโตะมิราอิ

hama wing สัญลักษณ์อีกแห่งเมืองโยโกฮาม่า

โครงการ “ฮามะวิง” ได้ลงมือทำในปี 2550-2560 ซึ่งโปรเจ็คท์นี้เป็นโครงการสาธิตซับพลายเจน ซึ่งก็คือการกักเก็บและขนส่งแจกจ่ายพลังงานไฮโดรเจน โดยกระทรวงสิ่งแวดล้อมให้มีการส่งเสริมเพื่อที่จะนำเอาไฮโดรเจนมาใช้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีการร่วมมือกับท้องถิ่น และภาคเอกชน จึงทำให้เกิดโครงการ ฮามะวิง  หรือว่าโรงไฟฟ้าพลังลม ที่กลางเมืองโยโกฮาม่า แต่ปัญหาก็คือพลังไฟฟ้าที่จะได้มานั้นก็ต้องอยู่กับพลังของแรงลมที่จะมาทำการหมุนใบพัด  ซึ่งมีความไม่แน่นอน ไม่สามารถปั่นกระแสไฟใช้งานได้ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นจึงต้องทำการแก้ปัญหาด้วยการใช้แบตเตอรี่เข้ามาประจุไฟ กักเก็บกระแสไฟในช่วงที่ลมแรง ซึ่งแบตเตอรี่ที่ใช้อยู่ในโครงการนั้นเป็นแบตเตอรี่เก่าจากรถไฮบริดของโตโยต้าพรีอุสถึง 180 คัน ซึ่งในที่สุดก็ทำให้เครื่องแยกน้ำด้วยไฟฟ้า จากกังหันลม สามารถผลิตกระไฟได้ในลักษณะที่เขาเรียกว่า “แบบยืดหยุ่น” โดยกังหันเริ่มต้นปั่นกระแสไฟได้ต้องมีแรงลมไม่น้อยกว่า 4 เมตร/วินาที

เมื่อกระแสไฟถูกผลิต และเก็บไว้ในแบตเตอรี่แล้ว ก็จะนำไฟฟ้าที่ได้มาเข้าสู่กระบวนการผลิตไฮโดนเจนเข้าสู่แท็งค์กักเก็บขนาดใหญ่ ส่วนการขนส่งไปยังมือผู้บริโภคนั้นก็ด้วยบรรทุก ที่ติดตั้งแท็งค์เก็บและอุปกรณ์จ่ายก๊าซที่ผลิตขึ้นมา

โดยเฉพาะ จากนั้นจะทำการจัดส่งไฮโดรเจนไปยังถึงมือผู้บริโภค โดยรถที่ต้องการพลังงานไฮโดรเจนนี้ก็คือ รถโฟลคลิฟพลังงานแซลเชื้อเพลิง 12 คันในเมืองโยโกฮาม่า  ผู้ใช้ไม่ต้องเดินทางมาเติมในสถานี เนื่องจากรถใช้งานในโรงงานเป็นส่วนใหญ่ไม่สามารถขับออกมาเติมยังสถานีจ่ายเชื้อเพลิงได้นั่นเอง สามารถเติมไฮโดรเจนเต็มในเวลาเพียงแค่ 3 นาที ซึ่งรถโฟล์คลิฟทั้ง 12 คันนั้นก็จะมีใช้งานในตลาดค้าส่งเมืองโยโกฮามา รวมทั้งที่โรงงานเบียร์คิริน ใช้ในบริษัทข่นส่งมิชิเรโลจิสติค สิ่งที่พิเศษของกระบวนการก็คือ มีระบบตรวจสอบปริมาณไฮโดรเจนของรถแต่ละคันบันทึกเอาไว้ในเซฟเวอร์ เพื่อให้มีการขนส่งแบบ จัสอินไทม์ด้วยนั่นเอง.

อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของการคำนวณค่าใช้จ่ายของไฮโดรเจน รวมถึงค่าขนส่ง ไม่ได้บอกออกมาอย่างแน่ชัด แต่ถือว่ามีการใช้งานที่คุ้มค่า และค่าใช้จ่ายถูกกว่า ซึ่งแน่นอนว่าต่อไปก็คงต้องมีการกำหนดราคาในอนาคต อีกสิ่งหนึ่งถ้าพูดถึงเรื่องการคุ้มทุนกับระบบผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานลมของ “ฮามะวิง” นั้น คงนำมาเทียบกันไม่ได้ เนื่องจากว่า โครงการนี้เป็นโครงการทดลอง การลงทุนค่อนข้างสูง แต่ว่าผลิตพลังงานไฟฟ้าแบบยืดหยุด นั่นก็หมายความว่าไม่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าออกมาได้เต็มกำลังสูงสุดเท่าที่กังหันลมจะสามารถผลิตได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ได้ก็คงเป็นเรื่องของ จุดเริ่มต้นในการรักษาสิ่งแวดล้อม การประชาสัมพันธ์เมืองโยโกฮามา ซึ่งกังหันลมสูงใหญ่นี้ถือเป็นอีกหนึ่งแลนด์มาร์กของเมืองด้วยนั่นเอง