Mitsubishi Triton เกียร์ธรรมดา ขับประหยัดน้ำมัน กรุงเทพฯ-กัมพูชา

Mitsubishi Triton Mitsubishi Triton เกียร์ธรรมดา ขับประหยัดน้ำมัน กรุงเทพฯ-กัมพูชา ประหยัดแค่ไหน มีคำตอบ

ถึงจะเป็นกิจกรรมที่เรียกว่า “ส่งเสริมการตลาด” หรือเป็นเรื่องของ “การประชาสัมพันธ์” และอีกหลากหลายคำจำกัดความตามแต่จะคิด แต่สิ่งหนึ่งที่เราสัมผัสถึงการเดินทางร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ที่ใช้ชื่อว่า ออล-นิว มิตซูบิชิ ไทรทัน “ปฏิวัติทุกขีดจำกัด กับความประหยัดเกินคาด” ก็ถือเป็นการบ่งบอกถึงขีดความสามารถในเรื่องของความประหยัดของรถยนต์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งครั้งนี้ถือว่ามีมาตรฐานในการทดสอบที่ค่อนข้างสูง มีกติกาชัดเจน ซึ่งก็จะทำให้ได้ตัวเลขความประหยัดที่แม่นยำ ไม่หนีห่างจากการใช้งานจริงมากนัก โดยเราเองรับหน้าที่กุมบังเหียน Mitsubishi Triton Mega Cab Pro 2.4 เกียร์ธรรมดา ลองความประหยัด กรุงเทพฯ-กัมพูชา ซึ่งจะมีตัวเลขประหยัดแค่ไหน งานนี้มีคำตอบให้แน่นอน

ลองความประหยัดเริ่มต้นจากกติกาที่มีมาตรฐาน

ตัวเลขของอัตราสิ้นเปลืองที่ได้มานั้นน่าเชื่อถือเนื่องจากจุดเริ่มต้นจากกติกาที่มีมาตรฐาน รวมทั้งมีผู้ทรงคุณวุฒิอย่าง ผศ.ดร.นักสิทธิ์ นุ่มวงษ์ คณาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ให้การรับรอง โดยมีข้อบังคับในการทดสอบขับประหยัดน้ำมันก็คือ

•“ซีล” ระบบปรับอากาศ (Manual ความแรงลมเบอร์ 2, ความเย็น1/2 / Automatic อุณหภูมิ 25 องศา)
• “ซีล” จุกเติมลมยาง / “ลมยาง” เติมไว้ตามมาตรฐานที่ระบุด้านข้างประตู ในแต่ละรุ่น
• “ซีล” ฝาถังน้ำมัน และเซ็นชื่อก ากับ โดยกรรมการ / “น้ำมัน” เติมถึงคอถัง
• Set Trip A / B เป็น 00 (ปรับ DNF ทันที หากกด Reset)
• ค่า AVG ปรับเป็น Manual เท่านั้น
• ความเร็วเฉลี่ย “ฝั่งไทย” ใช้ 90 –100 กม./ชม. / “ฝั่งกัมพูชา” เขตเมือง 40 กม./ชม. นอกเมือง 60 –80 กม./ชม.
• ให้เวลาเดินทางในช่วงแรก ระยะทาง 227 กม. จาก โพธาลัย กรุงเทพฯ – เดอะ เวโล โฮเต็ล
• (กรรมการบันทึกเวลา และเลขไมล์ ODO ใน Time Card ตั้งแต่ จุดสตาร์ท –เดอะ เวโล โฮเต็ล ต้องไม่เกิน 3.30ชม.)
• ให้เวลาเดินทางในช่วงที่ 2 ระยะทาง 155 กม. จาก ด่านกัมพูชา – PTT Gas Station (Seang Nam)
• (บันทึกเวลาบันทึกเวลาใน Time Card ตั้งแต่ ด่านกัมพูชา – PTT Gas Station (Seang Nam) ต้องไม่เกิน 3.30ชม.)
• ถึงจุด Finish @ PTT Gas Station (Seang Nam) ระยะทางรวมต้อง ไม่ “มากกว่า 400 กม. หรือ น้อยกว่า 380 กม.”
• ถึงจุด Finish @ PTT Gas Station (Seang Nam) กรรมการตรวจเช็คจุดที่มีการ “ซีล” ปิดไว้
• เติมน้ำมันกลับถึงคอถัง โดยใช้หัวจ่ายเดียวกันทั้งหมด
• ตรวจวัดอัตราสิ้นเปลือง “จากปริมาณน้ำมันที่เติมกลับ” เพื่อหาคันที่ขับขี่ได้ประหยัดที่สุด

3 ชั่วโมงครึ่ง ถึงจุดแรก 227 กม.

Mitsubishi Triton เกียร์ธรรมดา ขับประหยัดน้ำมัน กรุงเทพฯ-กัมพูชา ถ้าเราดูระยะทางกับเวลาเดินทางที่ให้ไว้ หารออกมาแล้วใน 227 กม.ถึงจุดเช็คพอยท์แรกของการเดินทางที่ โรงเรมเวโลโฮเทล ใช้ชายแดนไทยกัมพูชา อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ความเร็วเฉลี่ยที่ใช้ต้องไม่ต่ำกว่า 68.8 กม./ชม. หลายคนอาจมองว่าสบายๆ แต่การเดินทางจริงนั้นถือว่าเวลาจำกัดมาก เนื่องจากต้องเจอกับสภาพการจราจรที่หนาแน่นช่วงเช้าที่เราเดินทางออกจากจุดสตาร์ท แถบถนนเลียบทางด่วนรามอินทรา มุ่งหน้าไปใช้ถนนรามอินทราเข้าสุวินทวงศ์ การที่จะใช้ความเร็วปกติเพื่อทำตัวเลขประหยัดน้ำมันช่วงนี้ก็อาจไม่ใช่เรื่องง่าย เมื่อระหว่างทางต้องแวะเข้าห้องน้ำ

และเมื่อมีเวลาจำกัด อีกทั้งยังต้องทำตามกติกาที่ต้องไว้เพื่อไม่ให้ถูกตัดสิทธิ์การวัดปริมาณน้ำมัน จึงต้องเพิ่มความเร็ว ตัวเลขคอนซัมชั่นบนแผงหน้าปัดที่สูงสุดในช่วงหลุดจากเมืองฉะเชิงเทรานั้นสูงถึง 25.5 กม./ลิตร เริ่มลดน้อยลงเมื่อเราเหลือบมองนาฬิกาที่บอกว่าเริ่มงวดลงไปทุกที เพราะต้องใช้ความเร็วเพิ่มขึ้นบางช่วงอาจสูงกว่ากฏหมายกำหนดบ้าง แต่ก็ยังคำนึงถึงความปลอดภัย จนในที่ีสุดก็เข้าเช็คพอยท์แรกก่อนเวลาเพียง 2 นาทีกว่าๆ

ข้ามแดนอุปสรรคไม่ใช่เวลาแต่ว่าเป็นความเร็ว

ช่วงบ่ายเป็นเวลาของการเดินทางข้ามประเทศ ซึ่งต้องผ่านขั้นตอนของการขับรถผ่านแดน ทั้งด่านฝั่งประเทศไทยและด่านฝั่งกัมพูชา เป็นไปตามกฏของตรวจคนเข้าเมืองกำหนด ใช้เวลาไม่นานนักก็กลับเข้าสู่การทดสอบขับประหยัดกันอีกครั้ง แม้ในช่วงข้ามแดนจะไม่นับเวลา แต่ก็อย่าลืมว่าปริมาณน้ำมันยังคงสูญเสียเมื่อต้องมีการสตาร์ทและขยับรถ ปริมาณรถที่ใช้บริการข้ามแดนที่มีทั้งคนไทยและรถจากเพื่อนบ้านเราเองค่อนข้างหนาแน่นกว่าจะเริ่มขั้นตอนลงเวลาจากกรรมการ เพื่อเดินทางต่อในช่วงที่สองก็เอาเรื่องอยู่

ออกจากด่านมุ่งหน้าสู่เสียมเรียบ จุดสิ้นสุดการทดสอบและเติมน้ำมันปั๊ม PTT Gas Station (Seang Nam) ระยะทาง 155 กม.กับเวลาที่วางไว้ 3.30 ชม. เฉลี่ยนความเร็วไม่ต่ำกว่า 50 กม./ชม. แต่อย่างที่บอกไปว่าอุปสรรค์ของการเดินทางอยู่ที่การจราจรฝั่งกัมพูชา ความเร็วที่ใช้ได้ไม่สูง ทั้งในเมืองที่ปอยเปต ผ่านเมืองศรีโสภน รวมทั้วตัวจังหวัดบันเตียเมียนเจย ก่อนที่จะต้องไปผจญกับแยกในเมืองท่องเที่ยวอย่างเสียมเรียบ หรือเสียมราฐอีก ถือว่าเป็นอุปสรรคไม่น้อย แต่อย่างไรก็ตามรถทุกคนก็สามารถเดินทางถึงจุดสิ้นสุดการทดสอบได้ตามกำหนดเวลา

สรุปผลตัวเลขประหยัดน้ำมัน

หลังจากผ่านเดินทางระยะทางรวมเฉียด 400 กม. (นับรวมการเดินทางผ่านด่าน และเทียบจากระยะทางบนหน้าปัดที่เซ็ตไว้) ทั้งหมดก็เพื่อตัวเลขที่เราต้องพิสูจน์กัน ซึ่งรถในขบวนนั้นจากฝั่งไทยเองมีอยู่ด้วยกันสี่รุ่นหลัก ก็คือ

Single Cab Active (150 ม้า) = 599,000 THB

Single Cab Pro (184 ม้า) = 609,000 THB

Mega Cab Pro (150 ม้า) = 682,000 THB

Double Cab Ultra AT (184 ม้า) = 1,207,000 THB

หลังจากตรวจสอบซีลตามกติกาครบถ้วน ก็เริ่มการเติมน้ำมันกลับให้เต็มถังตามลักษณะเดียวกับที่มีการเติมก่อนออกเดินทางคือ เติมเต็มจนถึงคอถัง โดยมีการเขย่ารถ 1 เซ็ตแล้วเติมน้ำมันเพิ่มจนไม่ลง ก่อนจะนำเอาตัวเลขปริมาณน้ำมันมาคำนวนกับระยะทางทั้งหมด

โดยในรุ่นที่ถือว่ามีตัวเลขประหยัดสุดก็คือรุ่น Single Cab Active (150 ม้า) มีอัตราสิ้นเปลืองเพียงแค่ 24.71 กม./ลิตร ส่วนรุ่น Mega Cab Pro (150 ม้า) มีอัตราสิ้นเปลือง 22.58 กม./ลิตร รุ่น Single Cab Pro (184 ม้า) มีอัตราสิ้นเปลือง 22.46 กม./ลิตร แลรุ่น Double Cab Ultra AT (184 ม้า) มีอัตราสิ้นเปลือง 20.37 กม./ลิตร

ส่วนสื่อมวนชนจากประเทศกัมพูชาที่ร่วมเดินทางพิศูจน์ความประหยัดในครั้งนี้ใช้รถรุ่น Double Cab GLS 4WD AT ซึ่งมีอัตราความประหยัดน้ำมันดีสุดอยู่ที่ 16.58 กม./ลิตร

หลายคนอาจจะถามว่าตัวเลขความประหยัดที่มีการทดสอบกันนี้สามารถนำมาอ้างอิงได้มากน้อยขนาดไหน ซึ่งถือเป็นเรื่องพิพาทและมีคนเห็นต่าง บางท่านมองว่ามาตรฐานการขับประหยัดกับใช้งานจริงแตกต่างกันสิ้นเชิง ซึ่งคงไม่ผิดนัก ตัวเลขประหยัดที่ได้มาอาจเป็นแค่ตัวตั้ง หรืออาจเป็นโจทก์ที่น่าท้าทาย เป็นตัวเลขที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ใช้รถรุ่นนั้นๆ รูปแบบการขับขี่อาจแตกต่างกัน แต่รถเหมือนกัน ลองปรับพฤติกรรมการขับดูครับแรกๆ อาจไม่ชินแต่ถ้าทำบ่อยๆ มันจะเคยชินกับการขับแบบ “ประหยัด” และจะได้ระยะทางที่ไกลขึ้น คุ้มค่ากับน้ำมันทุกหยดที่เติมไป

***รับชมคลิปทดสอบได้ที่***  https://youtu.be/XVdUKzata9k?si=wKm8c-FmaAwbgRrc