นิสสันนำโครงการการพัฒนากระบวนการคิดขั้นสูง
เพิ่มประสิทธิภาพนักแข่งฟอร์มูล่า อี
นักแข่งนิสสัน จะได้รับการฝึกซ้อม และพัฒนาการจัดการในการเรียนรู้ การตอบสนองให้มีความสม่ำเสมอระหว่างการแข่งกันเพื่อเพิ่มความเร็วให้กับนักแข่ง
บริษัท นิสสัน มอเตอร์ จำกัด เปิดตัวโครงการนวัตกรรมพัฒนากระบวนการทางความคิดขั้นสูง และการวิจัยด้านกายวิภาคศาสตร์ เพื่อฝึกซ้อมให้กับเซบาสเตียน บูเอมี (Sebastien Buemi) และโอลิเวอร์ โรวแลนด์ (Oliver Rowland) นักแข่งรถฟอร์มูล่า อี
โครงการดังกล่าวใช้ชื่อว่า Nissan Brain to Performance ใช้การถ่ายภาพสมองขั้นสูง และการวิเคราะห์เพื่อกำหนดลักษณะเฉพาะทางกายวิภาคของนักแข่งมืออาชีพ และนำไปพัฒนาการโปรแกรมการฝึกซ้อม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการคิด และกายวิภาคในการแข่งขัน
“ที่นิสสัน เรากล้าทำในสิ่งที่คนอื่นไม่กล้า นวัตกรรมสุดล้ำนี้จะช่วยให้เราเข้าใจการทำงานของสมองของนักแข่งได้มากกว่าที่เคย เพื่อเพิ่มศักยภาพการขับขี่บนสนามแข่งฟอร์มูล่า อี ทอมมาโซ โวลป์ ผู้อำนวยการระดับโลกฝ่ายกีฬาทางรถยนต์ของนิสสันในการแข่งขันฟอร์มูล่า อี (Tommaso Volpe, Nissan Global Motorsports Director for Formula E) กล่าว ‘’จะดีแค่ไหนหากเราสามารถช่วยให้นักแข่งของเราทำผลงานได้ดีขึ้นผ่านการวิเคราะห์และฝึกซ้อมการทำงานของสมองขั้นสูง เวลาทุกเสี้ยววินาทีในการแข่งขันฟอร์มูล่า อี มีความหมายมาก จึงเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นที่เราจะได้เห็นทีมวิจัยของนิสสันสามารถพัฒนาการทำงานสมองของทั้ง เซบาสเตียน และ โอลิเวอร์ ที่มีประสิทธิภาพสูงอยู่แล้วให้ทำงานดียิ่งกว่าเดิม’
ลูเซียน กอร์เก (Lucian Gheorghe) ผู้นำด้านการวิเคราะห์และการฝึกกระบวนกการคิดขั้นสูง
โครงการนี้นำโดย ลูเซียน กอร์เก (Lucian Gheorghe) ผู้นำด้านการวิเคราะห์และการฝึกกระบวนการการคิดขั้นสูงทั้งยังเป็นแรงผลักดันที่อยู่เบื้องหลังการวิจัยเพื่ออนาคตของนิสสันในการสร้างการเชื่อมต่อระหว่างผู้ขับขี่และรถยนต์นิสสัน เป้าหมายแรกของโครงการ Nissan Brain to Performance คือ การเพิ่มประสิทธิภาพนักแข่งฟอร์มูล่า อี ของทีมนิสสัน
กอร์เก กล่าวว่า “สมองของมนุษย์เรานั้นทรงพลังมาก มันทำหน้าที่มากมายในทุกวินาทีในขณะที่เราขับขี่โดยที่เราไม่รู้ตัว นักแข่งฟอร์มูล่า อี ที่ผ่านการฝึกฝนและมีประสบการณ์มาอย่างโชกโชนต้องทำหน้าที่ภายใต้แรงกดดันและความเร็วสูงเพื่อทำเวลาให้ดีขึ้นในทุกรอบการแข่งขัน โครงการ Nissan Brain to Performance ช่วยให้เราเข้าใจการทำงานของคลื่นไฟฟ้าในสมองซึ่งมีส่วนช่วยในการทำกิจกรรมต่าง ๆ และเมื่อเราเข้าใจการทำงานของสมองได้มากขึ้นก็จะสามารถพัฒนาความสามารถในการขับขี่ผ่านการฝึกฝนของสมองตามสั่ง และในอนาคตเราหวังว่าโครงการนี้จะช่วยพัฒนาทักษะการขับขี่ของผู้ขับขี่ทั่วไป รวมถึงความสามารถของรถยนต์ไฟฟ้านิสสัน”
โครงการนี้เริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์และทดสอบการทำงานทางสมองของนักแข่งฟอร์มูล่า อี อย่างละเอียด และเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่เป็นนักแข่งทั่วไป โดยจะให้นักแข่งทุกคนทดสอบบนเครื่องจำลองการขับขี่ที่ล้ำสมัยในขณะที่มีการตรวจสอบและบันทึกการทำงานของสมอง จากนั้นจะนำผลลัพธ์มาพัฒนาโครงการฝึกอบรมผู้ขับขี่ด้วยการกระตุ้นคลื่นไฟฟ้าสมองเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของนักแข่ง”
ภาพรวมที่สำคัญของการวิจัย
- ทำความเข้าใจการทำงานของสมองและกายวิภาคของนักแข่งฟอร์มูล่า อี เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ขับขี่ทั่วไป:
– สร้างสเปกตรัมของกิจกรรมในสมองของนักแข่ง เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบของการกระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้า
- หาคำตอบว่าการใช้เครื่องกระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้า สามารถพัฒนาสมองนักแข่งมืออาชีพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในสนามแข่งได้หรือไม่:
– เมื่อเราทราบการทำงานของสมองก็จะสามารถเริ่มต้นการฝึกขับขี่โดยใช้เครื่องกระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้าพร้อมเฝ้าสังเกตเพื่อการพัฒนาต่อไป
- การฝึกการขับขี่โดยคอมพิวเตอร์นี้สามารถช่วยเพิ่มทักษะการขับขี่ทั่วไปเพื่อการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าของ นิสสันในอนาคตได้หรือไม่ โดยมีเป้าหมายให้ผู้ขับขี่ได้รับประสบการณ์การขับขี่ที่ตื่นเต้นเร้าใจมากที่สุด
– หลังจากที่เราเข้าใจการทำงานของกระแสไฟฟ้าตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นในสมอง จะมีการนำผลลัพธ์มาสรุปเป็นข้อแนะนำสำหรับการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าเพื่อประสบการณ์ในการขับขี่ที่ดียิ่งขึ้นต่อไป